โดย มติชน วัน อาทิตย์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 11:50 น.


ที่กองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อเวลา 11.20 น. วันที่ 14 ก.ย. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และพล.ต.อ.พัรชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่างการยกเลิกประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เขตกรุงเทพมหานคร ภายหลังภายหลังการประชุมเพื่อพิจารณาการยกเลิกประกาศดังกล่าว โดยหลังจากนี้ จะใช้กฎหมายปกติในการปฎิบัติควบคุมสถานการณ์ เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้แนวโน้มอยู่ในทางปกติไม่มีเหตุการณ์รุนแรง รวมถึงหากมีการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายต่อนักลงทุนและกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม


ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ผบ.ทบ.เป็น ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่รับผิดชอบรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งแนวทางการปฎิบัติจะมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมี ผบ.ตร.เป็นผู้รับผิดชอบในการปฎิบัติหน้าที่ดูแลความไม่สงบภายใน หากเกินกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถร้องขอทหารเข้าไปช่วยเหลือในลักษณะ ผู้ช่วยเจ้าพนักงาน


ทั้งนี้ นายสมชายบอกว่าย เหตุการณ์ที่ผ่านมาทำบ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมาก ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว คิดว่าเวลานี้คนไทยทุกคนควร หันหน้าเข้าหากันมาเพื่อเยียวยาสิ่งที่เกิดขึ้น ค้นหาจุดแตกต่างกันให้ได้ ค้นให้เจอ ในฐานะ ที่เป็นรัฐบาล มีหน้าที่ที่ต้องดูแลตรงนั้น ไม่ใช่ว่าเป็นรัฐบาลชั่วคราวและจะละเลยเพิกเฉย อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้เป็นโอกาสให้ประเทศ มีความปรองดอง เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง คิดว่า วันนี้ไม่ควรแตกแยก การรบราฆ่าฟันไม่มีประโยชน์ ไม่มีฝ่ายใดแพ้เกิดขึ้นมีปัญหาที่ต้องต่อสู้มากมาย มีเรื่องที่ต้องแก้ไขภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ มีปัญหาที่ต้องแก้ไขอีกมากมาย ไม่มีเวลาที่ต้องมานั่งทะเลาะกันและปล่อยให้คนที่ประสบภัยธรรมชาติต้องได้รับความเดือดร้อน คนที่มีความรู้ ต้องมาช่วยกันทำชีวิต


ขอร้องให้เคารพกฎหมาย เหตุผล กติกา เพื่อให้อยู่กันอย่างเป็นสุข ทั้งนี้ การทำทุกอย่างเพื่อชาติ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่รักยิ่งของคนในชาติที่ควรคำนึงถึง ต่อจากนี้ ขอให้ทุกอย่างเดินทางไปสู่ความสงบสุข ความสมานฉันท์ เรียกร้อยยิ้มของไทยให้กลับมาให้เป็นสยามเมืองยิ้มอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก ต้องเรียกร้องสิ่งนี้กลับคืนมา จากการที่เสียหายทางการท่องเที่ยว นายสมชายกล่าว และว่า ต่อจากนี้ ขอให้คำนึงถึงถึงการลดใช้ความรุนแรง เข้าใจซึ่งกันและกัน เพราะบรรยากาศจากนี้ไปจะเข้าสู่งานถวายเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อจัดงานถวายให้สมพระเกียรติ เพื่อให้คนไทยมีหัวใจเดียวกัน มีความจงรักภักดี ต่อจากนั้นก็จะเข้าสู่งานฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


นายสมชายแถลงต่อว่า ต่อจากนี้ ผบ.ตร. จะเข้ามาดูแลทุกข์สุข ดูแลผู้ชุมนุม ขอให้ใช้เหตุผลไต่ตรองดีที่สุด รัฐบาลห่วงใยผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขอให้ทุกคนที่อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลออกมาอยู่ข้างนอก เพราะสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ราชการ อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณ ผบ.ทบ. และผบ.ตร. ที่ดูแลความเรียบร้อยในประเทศ ในการลดความร้อนแรงลง ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ เห็นใจผู้ชุมนุม แต่อยากเรียกร้องให้แก้ปัญหาให้ชาติบ้านเมือง สิ่งใดที่เป็นเหตุผลให้เอามาใช้ อย่าเอาชนะกัน ช่วยกันทำให้ประเทศ กลับมารุ่งเรือง สงบสุขอีกครั้ง

โดย มติชน วัน อาทิตย์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 13:20 น.

เมื่อเวลา 10.00 น.ย วันที่ 14 ก.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์การเมือง ว่า เมื่อปรากฎเป็นที่แน่ชัดว่า พรรคร่วมรัฐบาลยังคงสนับสนุนพรรคพลังประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่า พรรคพลังประชาชนจะเสนอใครก็ตามมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการแสดงให้เห็นเนื้อแท้ที่ว่า ไม่ว่า จะเป็นอย่างไรบุคคลที่จะเสนอก็จะไม่พ้นคนในพรรคพลังประชาชน แม้นายสมัคร สุนทรเวช จะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่ก็ยังคงทำให้สถานการณ์ตึงเครียด ประกอบกับยังมีการเสนอให้นิรโทษกรรม คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองด้วย โดยภาพที่ออกมายังคงแสดงให้เห็นว่า ส.ส.ของพรรคพลังประชาชนยังไม่มีความพร้อม

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเมื่อพรรคที่มีเสียงข้างมากยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาประชาชน และตัวเองว่า จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นอย่างไร ก็จะต้องยืนยัน 3 ข้อว่า 1. จะต้องไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหนีคดียุบพรรค เพราะหากยังมีการจับขั้วเดิม กรอบของการยุบพรรคจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญ ในการจับขั้ว เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้น 2. สาเหตุของความขัดแย้งคือ ความพยายามที่จะแทรกแซงขบวนการยุติธรรม ศาล และองค์กรอิสระ เพื่อช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จะต้องให้สัญญากับกระชาชนว่า เมื่อเข้ามาบริหารประเทศ จะต้องแทรกแซงกระบวนการดังกล่าว และจะต้องนำตัว พ.ต.อ.ทักษิณ มารับการลงโทษตามขั้นตอนของกฎหมายเมื่อใด สุดท้ายคือ ข้อย 3.การที่บ้านเมืองมาถึงทางตัน จะทำให้เกิดความบาดหมางส่งผลให้เกิดความรุนแรง ดังนั้น พรรคพลังประชาชน ที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล จะต้องออกมาบอกว่า ตัวเองมีความพร้อม และมีจุดยืนในการปลดชนวนวิกฤติอย่างไร ด้วยกลไกอย่างไรบ้าง จึงจะเป็นที่พรรคพลังประชาชนจะต้องออกมาให้สัญญาประชาคม

โดย กรุงเทพธุรกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 11:39 น.

แกนนำพันธมิตรไม่ยอมนายกฯที่มาจากพรรคพลังประชาชน เสนอการเมืองใหม่ไว้ซึ่ง สว. และให้ใช้อำนาจตุลาการยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

นายสนธิ ลิ้มทองกุลนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำคนสำคัญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวย้ำไม่ยอมรับนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคพลังประชาชน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม พร้อมระบุพันธมิตรฯ จะไม่ยุติการเคลื่อนไหว จนกว่าทุกพรรคการเมืองจะยอมรับและมาร่วมผลักดันการเมืองใหม่ตามแนวคิดของพันธมิตรฯ ให้เกิดขึ้น โดยการเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้น

นอกจากประชาชนจะมีส่วนร่วมแล้ว ยังต้องมีกลไกป้องกันการเข้ามาหาผลประโยชน์ของกลุ่มทุน โดยเฉพาะการหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของไทย เช่น ทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงาน เป็นต้น
นายสนธิ ยังได้เปิดประเด็นหนทางสู่การเมืองใหม่ โดยเสนอเบื้องต้นให้คงไว้เฉพาะสมาชิกวุฒิสภา และให้ใช้อำนาจตุลาการยุบสภาฯ เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามกระบวนการสรรหาที่ต่างไปจากปัจจุบัน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าไปเป็น ส.ส.ในสภาฯ.



โดย คม ชัด ลึก วัน อาทิตย์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 00:10 น.


(13ก.ย.)เวลา 14.00น. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาบทบาทนักศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการเมือง โดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่ห้อง 101 คณะเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ภายใต้หัวข้อ ดีเบต 4 ขั้ว ประกอบด้วย นายศตวรรษ อินทรยุทธ ตัวแทนสาธิตมัฆวาน (Young PAD) นายธนากร สัมมาสาโก ตัวแทน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) นายอนุธีร์ เดชเทวพร ตัวแทนองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(อมธ.) นายกฤติกร วงศ์สว่างพานิช ตัวแทนกลุ่มประชา ธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก(กปก.)


สำหรับการดีเบต มีตัวแทนจาก 3ฝ่ายที่เห็นไปในทางเดียวกันประกอบด้วย สนนท. อมธ. และกปก. ซึ่งเห็นว่าการกระทำที่ผ่านมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่อารยะขัดขืนโดยแท้จริง พร้อมทั้งเรียกร้องให้แกนนำทั้ง 9 คนของ พธม. มอบตัวแล้วต่อสู้คดีในกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ พธม. เคารพกติกาและชุมนุมเรียกร้องโดยสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนโดยไม่ควรล้ำเส้น เพื่อไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าทั้ง 2 ฝ่าย ดังเช่นที่ผ่านมา ซึ่งอยากจะเรียกร้องให้กลุ่มผู้ชุมนุมควรกลับมาสู่จุดที่ควรจะเป็น ในระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ใช้ความรุนแรง


ตัวแทนจากสาธิตมัฆวาน กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้เลือกข้างออกมาเคลื่อนไหวทำกิจกรรมทางการเมือง อย่ามัวแต่ไปเล่นเกมไร้สาระอยู่ ไม่ว่านักศึกษาจะเลือกข้างพธม. หรือ นปช. ก็ยังเป็นการแสดงออกที่ดีว่าคนรุ่นใหม่สนใจในปัญหาบ้านเมือง ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เป็นอารยะขัดขืนต่อความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล การที่แกนนำทั้ง 9 ยังไม่เข้ามอบตัวเพราะยังไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรม


ด้านนายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สังคมเรามีความคิดที่แตกต่างหลายฝ่าย ซึ่งตนมีความเป็นห่วงและคิดว่าการต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ใช้อำนาจฉ้อฉล จะต้องกำหนดวิธีการและเป้าหมายให้แตกต่างจากการต่อสู้รัฐบาลทรราชย์ในอดีต และควรทิ้งกรอบการต่อสู้แบบ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 เนื่องจากพื้นฐานของสังคมเปลี่ยนไปแล้ว สำหรับนักศึกษามีจุดเด่นที่สติปัญญา อย่าไปติดกับดัก รับเคลื่อนไหวให้กลุ่มการเมืองใด โดยนักศึกษาต้องเป็นผู้นำทางการเมืองไม่ใช่ผู้ตาม อย่าไปเล่นการเมืองน้ำเน่า ต้องช่วยกันคิดว่าจะปฏิรูปให้หลุดจากการเมือง 2 ขั้ว
ผมมองการเคลื่อนไหวของ พธม.ว่าเป็นปัญหาต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสวนทางต่อประชาธิปไตย เพราะ พธม. มุ่งไปข้างหน้าโดยไม่ฟังเสียงใคร คิดว่าตัวเองคือเจตจำนงของประชาชนทั้งหมด ทั้งที่พันธมิตรฯ เป็นเพียงกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มหนึ่งไม่ใช่ตัวแทนของประชาชน หากพันธมิตรฯ ต้องการเริ่มต้นการเมืองใหม่ ต้องยอมถอยเพื่อให้การเมืองกลับเข้าสู่ระบบเดิมและมีกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 นายประจักษ์ กล่าว


อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ผู้นี้ กล่าวอีกว่า ถ้าอยากจะออกจากทางตันของการเมืองน้ำเน่าต้องแก้รัฐธรรมนูญ 2550 การที่แกนนำ พธม. ออกมาเสนอการเมืองใหม่ ยื่นเงื่อนไขแตกหัก 70:30 ทั้งที่ตัวเองยังไม่รู้หน้าตาของการเมืองใหม่ที่ตัวเองเสนอว่าจะเป็นอย่างไรและกลับยัดเยียดให้คนอื่นยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมากเพราะสังคมจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ กับการต่อสู้ครั้งนี้


ขณะที่นายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเรียกร้องให้แกนนำพันธมิตรฯมอบตัว ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกยิงทิ้งระหว่างทางเพราะถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จะยิ่งสะท้อนให้ประชาชนถึงความชัดเจนของระบบนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการต่อสู้ของขบวนการพันธมิตรฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังการรัฐประหารได้นำสติ๊กเกอร์เบื่อม็อบพันธมิตร และสติ๊กเกอร์รณรงค์ให้ร่วมกันปลดความรุนแรงมาแจก ที่หน้าห้องเสวนาดีเบต 4 ขั้วของนักศึกษา

โดย มติชน
วัน อาทิตย์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 09:35 น.

นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เปิดเผยถึงการหยั่งเสียงภายในกลุ่ม เพื่อเสนอชื่อบุคคลในการเป็นนายกรัฐมนตรี แทนนายสมัคร สุนทรเวช ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สิ้นสุดสภาพ และประกาศถอดใจไม่ขอรับตำแหน่งอีกสมัย เพื่อเสนอต่อมติพรรคพลังประชาชนเพื่อโหวตเลือกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 17 ก.ย. ว่าย ส.ส.กลุ่ม ตกลงกันแล้วว่า จะเสนอชื่อ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน รักษาการรองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นนายกฯคนต่อไป โดยมั่นใจว่า น.พ.สุรพงษ์ จะสามารถบริหารบ้านเมืองได้ เพราะมีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
ส่วนกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ ยังมีคดีความการออกสลากเลขท้ายสองตัวและสามตัว หรือหวยบนดินนั้น นายศุภชัย กล่าวว่าย ไม่หวั่น ต้องปล่อยไปตามกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตามในวันที่ 15 ก.ย. ในเวลา 11.00 น.กลุ่มเพื่อนเนวินจะประชุมเพื่อขอมติกลุ่มอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ก่อนเสนอต่อที่ประชุมพรรคพลังประชาชนในวันเดียวกัน


โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 14:06 น.

เมื่อเวลา 09.10 น. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการลับ ลวง พราง ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 100.5 กล่าวถึงกรณีมีความพยายามปลุกให้ทหารออกมาปฏิวัติ ว่า หนึ่งคือ ถ้าทำแล้วจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ และเมื่อคิดทีละประเด็นไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย สองคือ เมื่อทำแล้วผลกระทบที่ตามมาไม่ว่าจากภายใน ทั้งกลุ่มนักวิชาการ อาจารย์ กลุ่มไม่เอาการปฏิวัติ และกลุ่มต่อต้านเดิมที่มีอยู่ รวมถึงผลกระทบระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจ ซึ่งจะน่าส่งผลกระทบมากและสูงกว่าที่จะรับได้ รวมถึงอาจจะไม่ได้เรียกว่า แก้ปัญหา และไม่น่าจะทำได้ เพราะมีผลกระทบถึงสองอย่างจึงไม่น่าจะใช้วิธีนี้ รวมถึงได้มีการประเมินบทเรียนจากการปฏิวัติครั้งที่ผ่านมาด้วย ทั้งนี้ตนมั่นใจว่า ข้าราชการในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศมีความเข้าใจสถานการณ์ ทุกคนพยายามที่จะทำให้สถานการณ์ผ่านไปด้วยดี

เมื่อถามว่า ยืนยันว่าจะไม่มีการสลายม็อบในช่วงสุญญากาศ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า คณะกรรมการได้ให้ข้อพิจารณาในเรื่องนี้ว่า เดิมทีเขามีการชุมนุมอยู่แล้ว เมื่อพ.ร.ก.ออกมาสั่งว่าห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ซึ่งเท่ากับว่า มีการชุมนุมอยู่แล้ว แต่สั่งห้าม หมายความว่า ต้องเข้าไปดำเนินการ แต่เมื่อมีการดำเนินการไปครั้งหนึ่งโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งผลที่ตามมายิ่งทำให้เกิดปัญหาและความไม่สงบมากกว่าเดิม อย่างนี้ไม่ได้เรียกว่า แก้ปัญหา แต่ไปเพิ่มปัญหา ดังนั้นต้องใช้มิติอื่น ซึ่งขณะนี้ทางการเมืองพยามยามแก้ไขสถานการณ์ อย่างเช่นที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มีการดำเนินการ และประชาชนทั่วไปคงจะลดอุณหภูมิในการที่จะไปมีส่วนร่วม ดังนั้นเชื่อว่า น่าจะค่อยๆแก้ปัญหาไปได้เรื่อยๆในตัวเอง ต่อข้อซักถามว่า มีนักการเมืองตั้งข้อสังเกตว่าทหารบางกลุ่มไปล็อบบี้ทางการเมือง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ไม่มี เข้าใจว่าคงทำไม่ได้ เพราะนักการเมืองมีปัจจัยที่จะต้องพิจารณาร่วมกันในเรื่องอื่นๆ

โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 13:35 น.

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 5 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลงพื้นที่หาเสียงที่โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ เขตสะพานสะพานสูง กรุงเทพมหานคร โดยนายอภิรักษ์ กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก ดังนั้นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริฯ มาใช้ จึงเป็นวิถีทางที่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงได้เห็นความสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตร โดยวางนโยบายส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษชานเมือง เพื่อให้ชาว กทม.มีผักสดบริโภคอย่างปลอดภัย พร้อมจัดทำร้านค้าตราสัญลักษณ์กรุงเทพฯ กรีน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและจัดหาตลาดจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรให้กับเกษตรกร ตามซุปเปอร์มาเก็ต ตลาดจตุจักร โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า จะส่งเสริมการจัดตั้งโรงสีชุมชนแก่เกษตรกรที่ปลูกข้าว เพื่อแปรรูปและจัดจำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมทั้งจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง ตามแนวพระราชดำริฯ ชุมชนละ 1 ล้านบาท จำนวน 1,200 ชุมชน ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่เพียงบางส่วน


โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 13:25 น.

(13ก.ย.) เวลา 10.00 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ขณะนี้หลายฝ่ายเริ่มพูดถึงการเมืองใหม่เพราะมองเห็นตรงกันว่าการเมืองเก่าถึงทางตันแล้ว หากปล่อยไว้บ้านเมืองต้องย่ำอยู่กับที่ สำหรับพันธมิตรฯไม่สามารถชี้นำว่าการเมืองใหม่ควรมีรูปแบบอย่างใดหรือจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ ขอให้เป็นหน้าที่สภาฯและผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยกันคิด แต่พันธมิตรฯยืนยันจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงในบ้านเมือง

ในส่วนพรรคพลังประชาชนไม่ว่าจะเสนอใครมาเป็นนายกฯ พันธมิตรฯก็ไม่ยอมรับ เพราะที่ผ่านมาทำผิดพลาดหลายเรื่อง โดยเฉพาะการสร้างสถานการณ์ระดมอันธพาลมาบุกพันธมิตรฯเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่ถ้าพรรคพลังประชาชนเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายค้าน พันธมิตรฯจะประชุมเพื่อกำหนดท่าทีต่อสถานการณ์อีกครั้ง
เพราะขณะนี้ยังไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ได้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่สิ่งที่ยืนยันได้คือตนจะไม่รับตำแหน่งใดๆหลังมีการเมืองใหม่แต่ไม่ได้กีดกันแกนนำคนอื่นๆ โดยขอให้แต่ละคนพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม

พันธมิตรฯจะยังไม่เลิกชุมนุมในทำเนียบฯและจะไม่ย้ายไปชุมนุมปิดล้อมยึดสถานที่ราชการจุดอื่นๆ รวมถึงสนามบินดอนเมืองซึ่งจะเป็นที่ทำงานของรัฐบาลจรจัด พล.ต.จำลองกล่าว
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวถึงสัดส่วนการเมืองใหม่ที่พันธมิตรฯเสนอให้มีทั้งการเลือกตั้งและสรรหา ว่า ยอมรับว่าการสรรหาไม่สามารถได้คนดีมาทั้งหมดแต่น่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่า ยกตัวอย่างการสรรหานายสัญญา ธรรมศักดิ์ และ นายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกรัฐมนตรี บุคคลทั้ง 2 ทำหน้าที่ได้ดีกว่านายกฯจากการเลือกตั้งหลายคน

ข้อเรียกร้องที่ให้พันธมิตรฯถอยคนละก้าว เราถอยไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด รัฐบาลมีความผิดข้อหากบฏเหมือนกัน ที่สำคัญพวกเราไม่ได้หนีอยู่บนเวทีครบทุกวันเวลา 21.00 น. ถ้าต้องการจับกุมก็เข้ามาจับเลย นายสมศักดิ์กล่าวและว่า ช่วง 5 วันอันตรายนี้ ขอให้จับตาพรรคพลังประชาชนที่อยู่ในภาวะจนตรอก จากข้อเท็จจริงที่ถูกเปิดเผยว่าทำผิดอาญาและผิดรัฐธรรมนูญซ้ำซาก ซึ่งอาจจะนำอันธพาลเข้ามาสร้างสถานการณ์ได้



โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 13:05 น.


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่พรรคพลังประชาชนจะเสนอบุคคลที่ชื่อมีอักษร ส.นำหน้า 3 คนเป็นนายกรัฐมนตรี จะไม่สามารถลดความขัดแย้งทางการเมืองได้ โดยใน 3 ส. ตนคิดว่ามีเพียงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะนายสมชายเคยเป็นอดีตผู้พิพากษาและปลัดกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ นายสมชายไม่เคยแสดงอาการต้องการปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างชัดเจน แม้ว่านายสมชายเป็นน้องเขยของพ.ต.ท.ทักษิณ


นายสุเทพ กล่าวต่อว่า คิดว่านายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากเคยโยกย้ายอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยอาจต้องการช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ


โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 11:11 น.

สมัคร อารมณ์ดีเล่นกับหลานภายในบ้านพัก พลังขอยุติบทบาททางการเมือง ไร้เงาแกนนำพรรคพลังประชาชนเข้าหารือผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านพักของ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ยังเงียบเหงา ไม่พบมีบุคคลระดับแกนนำ พรรคพลังประชาชน หรือ บุคคลภายนอกเข้าพบแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามได้รับการเปิดเผยจากคนในบ้านว่านายสมัคร เดินทางออกจากบ้านพักตั้งแต่ช่วงเช้ามืดที่ผ่านมาและได้เดินทางกลับเข้ามาภายในบ้านตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น. แล้ว ขณะนี้นายสมัคร กำลังพักผ่อน รวมทั้ง ได้หยอกล้อเล่นกับหลานๆ อยู่ในบ้าน ด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มและอารมณ์ดี ขณะเดียวกัน เริ่มมีผู้สื่อข่าวจากสำนักอื่นๆ มาเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวอยู่บริเวณริมกำแพงบ้านพักนายสมัคร กันบ้างแล้ว ขณะที่การดูแลรักษาความปลอดภัยรอบบ้านพักของนายสมัคร สุนทรเวช มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลาดพร้าว กระจายกำลังอยู่บริเวณต่างๆ จำนวนประมาณ 8 นาย

โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 13:25 น.

(13ก.ย.) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปจังหวัดตรัง กรณีนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกฯ ว่า นายสมัคร ยังเป็น ส.ส.อยู่ ฉะนั้นความเป็นนักการเมืองก็ยังอยู่ ไม่ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ถ้าจะเปลี่ยนแปลงบทบาท ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ส่วนข้อเสนอของหลายฝ่ายที่ให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น ตนคิดว่ามีคนหวังดี พูดเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ พูดเรื่องการเมืองใหม่ ก็เป็นความหวังดีส่วนหนึ่งที่อยากจะเห็นการเมืองเป็นไปด้วยดี มีความชอบธรรม และมีการบริหารที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งดีที่คนช่วยกันคิด แต่ตนคิดว่าจะเรียกว่าการเมืองใหม่หรือการเมืองเก่าก็ตาม สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่คำพูด อยู่ที่ว่า ปัญหาในทางการเมืองจริง ๆคืออะไร คนที่อยู่ข้างนอก อาจมองเห็นไม่ชัดเท่าไหร่ แต่คนในอย่างตนเห็นว่า ปัญหามีจริง เป็นเรื่องที่มีธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการเมืองที่ใช้เงิน จึงเป็นความไม่ชอบธรรม คนเหล่านี้เอาผลการเลือกตั้งมาเป็นความชอบธรรม ว่าได้รับเลือกตั้งมาแล้ว แต่ไม่ได้ย้อนกลับไปดูว่า กระบวนการเลือกตั้งสุจริตยุติธรรมหรือไม่ ดังนั้นประเด็นจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า เราจะเรียกอะไรแต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงสาระของกระบวนการทางการเมืองได้หรือไม่ สามารถสกัดธุรกิจการเมืองได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถทำได้ต้องยอมรับว่า จะเรียกอะไรปัญหาก็ยังอยู่

นายชวน กล่าวว่า ตนให้ข้อสังเกตุอย่างหนึ่ง คือ นักการเมืองสมัยก่อนไม่ค่อยซื้อเสียงมีน้อยมากที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทน แต่ปัจจุบันที่เรียกตัวเองนักการเมืองรุ่นใหม่ เกือบจะพูดได้ว่าหาคนที่ไม่ซื้อเสียงได้ยาก เพราะฉะนั้นตรงนี้ ที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ถ้าเราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ในที่สุด การเมืองก็จะเข้าสู่กระบวนการชอบธรรมมากขึ้น เมื่อการเมืองเกิดความชอบธรรม ใครก็ตามที่จะมาล้มล้างการเมืองที่ชอบธรรมก็ทำได้ยาก

นายชวน กล่าวว่า แต่วันนี้เมื่อมีผู้ชุมนุมมีผู้เรียกร้องความเปลี่ยนแปลง ก็มีความชอบธรรมในแง่ที่ว่า เขาต้องการเปลี่ยนไปสู่ทางที่ดีขึ้น ไปสู่สิ่งที่ชอบธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่คณะเลือกตั้ง แต่ใช้วิธีการโกงเลือกตั้ง หรือซื้อเสียง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ปรารถนาทั้งหลายต้องตระหนัก ฉะนั้นถ้าเรามองเป็นปัญหาร่วมกัน ก็ต้องพยายามทำให้การเมืองต่อไปนี้ชอบธรรมมากขึ้น ด้วยการสกัดธุรกิจการเมือง ซื้อ ส.ส. ซื้อนักการเมืองและซื้อพรรคการเมือง ซื้อกระบวนการองค์กรอิสระ ซื้อสื่อมวลชนทุกอย่างให้เป็นพวกของตัวเองหมด นี่คือสาเหตุที่ก่อให้เกิดวิกฤติเป็นต้นมา ทั้งนี้การเมืองพัฒนาไปมากพอสมควร แต่ทั้งหมดก็สะดุดลงในปี 2544 แล้วถอยหลังเมื่อธุรกิจการเมืองเข้ามาเป็นผู้กำหนดชะตาทั้งหมดและอยู่นานเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยาก แม้ว่าแต่ละคนจะรู้ว่าสิ่งนี้ไม่ถูกต้อง จะเห็นว่าทุกพรรคพูดถึงสิ่งที่ดีและพูดถึงหลักการความถูกต้อง แต่ปัญหาก็คือ ใครจะปฏิบัติได้กี่คน เพราะการเมืองยังประกอบไปด้วยกระบวนการที่ไม่ชอบธรรม มีการมาอ้างเพื่อความชอบธรรม อย่างไรก็ตาม เห็นว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ แต่อยากให้ท่านเหล่านั้น ทราบความจริงว่า สาเหตุจริงๆ คืออะไร เพราะลำพังคำแนะนำโดยไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ในที่สุดเราก็จะไม่สามารถเริ่มต้นได้

ถามว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ยอมรับ หากรัฐบาลเสนอชื่อบุคคล 3 ส ตามที่เป็นข่าว มาเป็นนายกรัฐมนตรี คิดว่าทางออกของปัญหาจะเป็นอย่างไร นายชวน กล่าวว่า มีทางออกตลอด เพียงแต่ว่าจะเลือกทางไหน ความจริงข้อเสนอแนะของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ฯ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (เสนอให้ยุบสภา) ใช่ช่วงเริ่มต้น เป็นข้อเสนอแนะที่คิดว่า ปฏิบัติได้ง่ายที่สุดแต่เจ็บปวดบ้าง เพราะนักการเมืองเลือกตั้งแต่ละทีก็เหนื่อยแสนสาหัส ไม่มีใคร อยากจะเลือกตั้งใหม่ เร็วเกินไป แต่ในเมื่อวันนั้นคนคิดว่าข้อเสนอ ให้ยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่ จะเป็นวิธีการที่สลายความวุ่นวายไปได้ในระดับหนึ่ง แม้ไม่ใช่ทั้งหมด แต่ถ้าย้อนกลับไปในที่สุดว่าเลือกตั้งใหม่ ความไม่ชอบธรรมก็จะเกิดขึ้นอีก ซื้อเสียงอีก โกงอีก ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้คนภายนอกสามารถเรียกร้องความถูกต้องได้


นายชวน กล่าวว่า ตนกำลังรอดูว่า พรรคร่วมรัฐบาล ทั้ง 6 พรรคจะตัดสินใจเลือกใครเป็นนายกฯ ขณะนี้ยังวิจารณ์ไม่ได้ เพราะยังไม่ทราบว่า เขาจะเลือกใคร แต่รัฐบาลคงจะต้องคิดว่าจะปฏิบัติอย่างไร ไม่ให้เกิดแรงต้าน ส่วนจะปฏิบัติได้หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองนั้น นายชวน มองว่า เป็นไปไม่ได้ เรื่องนี้เราพูดกันตั้งแต่ต้นแล้ว ว่า เป็นไปไม่ได้

เมื่อถามถึงกรณีที่รัฐบาลเลื่อนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปเป็นวันที่ 17 ก.ย.นั้น คิดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งทางการเมืองหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลคงไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ก็คิดว่า การประชุมเมื่อวานนี้(12 ก.ย.) ที่โหวตเลือกนายกฯ จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วแต่เมื่อประธานสภาฯ นับองค์ประชุม คนก็เข้าใจผิด แม้กระทั่ง ส.ส.ที่ออกมาวิจารณ์ก็เข้าใจผิด เพราะเมื่อวานครบองค์ประชุม ถึงให้มีการเริ่มประชุมสภาได้ แต่มีคนเข้าใจว่านายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เสนอนายอภิสิทธิ์นั้น มีองค์ประชุมไม่ครบซึ่งไม่ใช่ แต่ไม่ครบตอนที่มีการขอให้นับองค์ประชุม เพราะฝ่ายรัฐบาลเดินออกจากห้องประชุมไปเพราะฉะนั้น ตอนที่เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ก็ถือว่าครบ


ส่วนกรณีที่ว่าเหตุการณ์เมื่อวานนี้ทำให้สังคมมองพรรคประชาธิปัตย์ในแง่ลบว่า เล่นการเมือง นายชวน กล่าวว่า ตนไม่คิดว่า เป็นอะไรในแง่ลบ แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าห้องประชุม ก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่ปฏิบัติหน้าที่เพราะถึงอย่างไร ก็ไม่มีผลอะไรอยู่แล้ว มีเสียงแค่ 164 เสียง ไม่มีทางที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกฯ เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่หน้าที่ของการเสนอตัว ก็ทำมาทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แม้จะรู้ว่าแพ้ ก็ต้องแสดงเจตจำนงค์ให้ประชาชนเห็นว่า ทำหน้าที่เสนอตัวเองให้พิจารณา

สมัคร ตาย สมชาย เกิด!

โดย โพสต์ทูเดย์ วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 10:26 น.


นายสมัคร สุนทรเวชไม่ถึง 24 ชั่วโมง หลังนายสมัคร สุนทรเวช ประกาศรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรอบสอง ต่อที่ประชุมพรรคพลังประชาชน (พปช.) นายสมัครก็ให้เลขาฯ คู่ใจ นาย ธีระพล นพรัมภา ประกาศต่อสาธารณะว่า ขอยุติบทบาท20 กว่าชั่วโมงระหว่างนั้น เต็มไปด้วยความโกลาหลความโกลาหลระลอกแรกเกิดหลังจากแกนนำของ พปช.เข้าพบนายสมัครที่บ้านพัก เพื่อเชื้อเชิญให้มาเป็นนายกฯ รอบใหม่ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. หลายคนหวังว่านายสมัครจะมองเห็นว่านั่นคือบันไดเกียรติยศที่จะทอดลงพรมแดง ถ้าคำตอบจะเป็นว่า ผมพอแล้ว แต่การณ์กลับเป็นว่า ยินดีตอบรับ คำตอบรับนั้นเรียกแขกได้ทั้งสังคม กระแสต้านลุกราวกับไฟลามทุ่ง ตกค่ำ เขายืนยันความปรารถนาต่อที่ประชุมพรรค ซึ่งต้องลงมติอย่างเป็นทางการเพื่อนำเสนอชื่อคนที่ได้รับเลือกต่ออีก 5 พรรคพันธมิตร “ขอขอบคุณ เมื่อมีมติเช่นนี้ก็พร้อมน้อมรับ แม้คุณหญิงจะบอกให้ผมถอย อย่าสู้ เพราะวันนี้มีบันไดให้ลงก็ลงได้แล้ว แต่ผมก็จะสู้เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย...” นั่นคือ ที่มาของแรงปรารถนาที่จะเดิน ลุยไฟ ไม่ใช่พรมแดง ! ขณะนั้น กลุ่มเพื่อนเนวิน และ แก๊งออฟโฟร์ ประเมินว่า เสียง สส.นอกแถวที่ประกาศไม่เอาสมัคร เอาเข้าจริงจะมีสัก 20 เสียง ความมั่นใจนั้นเกิดจากพลานุภาพจากลอนดอน หลังเลิกประชุม พปช.ความโกลาหลรอบสองถาโถมเข้ามา ภาพคู่ขนานเกิดขึ้น ทางหนึ่งนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อสายจากอังกฤษถึงแกนนำพรรคหลายสิบคน ไม่ว่าฝ่ายที่หนุนนายสมัครอย่างนายเนวิน ชิดชอบ ฯลฯ อีกข้างก็สั่งการให้ผู้มีใจเอนเอียงอย่างคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุ ราพันธุ์ แกนนำกลุ่มกรุงเทพฯ นายยงยุทธ ติยะไพรัช แกนนำกลุ่มภาคเหนือ ฯลฯ รวมทั้งรัฐมนตรีรักษาการทั้งหลาย ให้ช่วยกันออกแรงอุ้มสมัครกลับมา! ยิ่งโทร. ต้นสายที่ลอนดอนยิ่งร้อนรน เพราะคำสั่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประกาศิตนั้นกลับเสื่อมมนตร์ หลายคนได้แจ้งกลับว่า ไม่อาจจะปฏิบัติตามได้ ทางไกลข้ามทวีปทะลุทะลวงไปแม้กระทั่งบรรดาแกนนำของพรรคร่วมอื่นๆ คำขอเช่นเดียวกันนี้มีไปถึง นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และใครอีกหลายคน อีกทางหนึ่งนั้น ทันทีที่มีมติพรรคออกมา เหล่าขบถ พปช.ก็ต่อสายถึงพรรคพวกกวนกันจนตกผลึกว่า ทางออกที่นิ่มนวลที่สุดก็คือ หากลเกมมาทำให้การประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกฯ เลื่อนออกไปก่อน แนวคิดนี้ถูกเสนอไปยังพรรคชาติไทย ราวๆ เที่ยงคืนเศษ เมื่อนายบรรหารปิ๊ง พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ก็ต่อสายกลับไปยังรังเก่า นายบรรหารเองเป็นคนเจรจากับนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช รวมทั้ง นายพินิจ จารุสมบัติ พรรคเพื่อแผ่นดิน 02.00 น. ทุกคนทุกสายเห็นตรงกันหมดว่า จะไม่เข้าประชุมในช่วงเช้าวานนี้ คำสั่งถูกถ่ายทอดออกไป...สัญญาณโทรศัพท์มือถือของ สส.นับร้อยดังขึ้น สส.พรรคชาติไทย ถูกเรียกไปประชุมประจำปีของพรรคที่เมืองทองธานีตั้งแต่เวลา 07.00 น. ขณะ 70 พปช. ก็ให้ไปรวมตัวกันตั้งแต่เช้าตรู่ที่ห้องประชุม 202 ตึกวุฒิสภา ฯลฯ เท่านั้นยังไม่พอ ใครที่พอจะสนิทหรือพูดจากับใครได้ ก็ถูกส่งไปดักหน้าห้องประชุมคอยฉกตัวเพื่อน สส.ออกไป กลุ่มเชียร์นายสมัครที่กะว่าคงจะลอยลำแน่แล้วถึงกับปาดเหงื่อ หลายคนเห็นปฏิบัติการล้วงคองูเห่าต่อหน้าถึงกับตวาดว่า มาทำอย่างนี้ยุบสภาเสียเลยดีกว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กดปุ่มเสียงสัญญาณเรียกเข้าห้องประชุมสองรอบ กระทั่งเวลา 09.30 น. เศษ ปรากฏว่ามีคนลงชื่อเข้าประชุมกว่า 304 คน เมื่อเกินครึ่งแล้ว นายชัยจึงสั่งเปิดประชุมเมื่อเวลา 09.40 น. ก่อนจบลงด้วย คำสั่งปิดประชุม เลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันพุธหน้า เมื่อชัดแล้วว่า ไม่ใช่แต่ขบถใน พปช. เท่านั้น แม้กระทั่งพรรคร่วมก็ไม่เอานายกฯ คนเดิม นายสมัครซึ่งมาสภา แต่ไม่ได้นั่งในห้องประชุมจึงบ่ายหน้ากลับบ้าน บ่าย พปช.ประชุมกันจากนั้น ส่ง 3 แกนนำไปเจรจากับนายสมัคร แล้วนายธีระพลก็เอาคำของนายสมัครมาประกาศว่า ขอยุติเป็นการยุติหลังเป็นนายกฯ มา 8 เดือนเศษ รวมทั้งสิ้น 251 วัน แล้วทุกกลุ่มใน พปช. กับอีก 5 พรรค ก็เห็นชอบให้ส่งเผือกร้อนใส่มือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณขึ้นฟัดกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อไป

โดย ไทยรัฐ วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 00:00 น.

สมศักดิ์ เผยทุกพรรคพร้อมร่วมรัฐบาลกับ พปช. ชื่นชมอดีต นายกฯสมัคร ประกาศยุติบทบาท ระบุเป็นการเสียสละ และเป็น แสดงสปิริตทางการเมืองของหัวหน้า พปช.
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รักษาการ รมว.กระทรวงเกษตรฯ


นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวภายหลังแกนนำ 6 พรรคร่วมรัฐบาล หารือกันที่บ้านพัก นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เมื่อคืนที่ผ่านมา (12 ก.ย.) ใช้เวลาประมาณกว่า 2 ชั่วโมง ว่า ตนและพรรคร่วมรัฐบาล เคารพการตัดสินใจของพรรคพลังประชาชนที่จะเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ วันพุธที่ 17 ก.ย.นี้ โดยพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคพร้อมร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ส่วนกรณี นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ประกาศยุติบทบาท เห็นว่าเป็นการเสียสละ และเป็นแสดงสปิริตทางการเมืองของนายสมัคร



โดย INN Newsวัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 10:40 น.


พันธมิตรฯ ชุมนุมอย่างสงบตลอดคืนที่ผ่านมา ตั้งเป้าเร่งทำความเข้าใจการเมืองใหม่ ก่อนโหวตเลือกนายกฯ วันพุธนี้การชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรฯ ตลอดคืนที่ผ่านมา เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแต่อย่างใดมีการเล่นดนตรี สลับกับการปราศรัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยเนื้อหาที่มุ่งเน้นแนวคิดการเมืองใหม่ โดย นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ช่วงระยะเวลาก่อนการเลือกนายกฯ คนใหม่ ที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 17 ก.ย.นี้ เป็นช่วงเวลาที่กลุ่มงพันธมิตรฯ จะต้องเร่งทำความเข้าใจระบบการเมืองใหม่ให้ประชาชนรับทราบสำหรับบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ในช่วงเช้าของวันนี้ ยังคงค่อนข้างที่จะเงียบเหงา กลุ่มผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ยังคงปักหลักอยู่ในภายในทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ บริเวณเวทีปราศรัย ที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ยังไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆ ในช่วงเช้าของวันนี้ โดยที่เวทีภายในทำเนียบฯ นางอัญชลี ไพรีรัตน์ ในฐานะโฆษกและผู้ดำเนินรายการกลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงจัดรายการสรุปข่าวประจำวันเหมือนเช่นเคย โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ประกาศยุติบทบาทในพรรคพลังประชาชนและไม่ขอรับตำแหน่งนายกฯ เป็นครั้งนี้ 2 ของ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ รวมไปถึงท่าทีขององค์กรต่างๆ ของประเทศ ที่ไม่ตอบรับการกลับมาดำรงตำแหน่งของนายสมัคร ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยังกระจายกำลังดูแลรักษาความปลอดภัยโดยรอบสถานีชุมนุมอย่างไรก็ตาม จากฝนที่ตกลงอย่างหนักติดต่อกันมาหลายวัน เริ่มส่งผลถึงปัญหาที่พบ ขยะและสิ่งปฏิกูลที่หมักหมมอยู่ในทำเนียบฯ เริ่มส่งกลิ่นเหม็นอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะมีรถเก็บขยะของกทม. เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด เพราะยังมีขยะตกค้างอยู่


โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 11:06 น.

นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่หากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ยอมรับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่มาจากพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ว่า ทางออกยังมีหลายทาง ซึ่งการยุบสภาก็เป็นทางออกหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาดูว่ารัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร

นายชวน กล่าวถึงการเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติและการเมืองใหม่ ว่า เป็นความหวังดีที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงการบริหาร แต่จะเรียกการเมืองใหม่หรือเก่าก็ไม่มีผลอะไร เพราะต้องดูไปถึงต้นตอของปัญหา ซึ่งอยู่ที่ธุรกิจเข้ามาครอบงำการเมือง ใช้เงินซื้อเสียง ทำให้ผลการเลือกตั้งเกิดความไม่ชอบธรรม ดังนั้น จึงต้องสกัดธุรกิจการเมืองให้ได้ นักการเมืองรุ่นใหม่หาได้น้อยมากที่ไม่ใช้เงินซื่อเสียงเข้ามา ต้องหาทางเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ เพราะตราบใดที่ไม่เกิดความชอบธรรม ก็ยังมีโอกาสที่จะมีกลุ่มคนมาเรียกร้องความชอบธรรมได้

ส่วนที่มีการเสนอให้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น นายชวน กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าประกาศใช้แล้วก็ไม่มีผลอะไร และเกิดผลลบมากกว่า โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ที่นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ ส่วนจะยกเลิกหรือไม่นั้น แม้แต่คนอย่าง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ซึ่งเป็นคนดูแลเรื่องนี้ยังอยากให้ยกเลิก


โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 22:50 น.
ประชุมสภาฯโหวตเลือกนายกฯ 5พรรคร่วมเล่นเกมไม่เอา สมัคร แก้เกมปชป.ส่ง อภิสิทธิ์ รอส้มหล่น จตุพรโวยแม่ทัพนายกองสามานย์ล็อบบี้ล้มประชุม กลุ่มเพื่อนเนวินไม่ยอมแพ้ โชว์ชื่อ 83 ส.ส.หนุนหัวหน้าพรรคนั่งผู้นำต่อ 5พรรคร่วมเล่นเกมไม่เอา สมัคร

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดพิเศษเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่สามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เนื่องจากมีปัญหาความขัดแย้งในขั้วรัฐบาลเดิม ทั้งภายในพรรคพลังประชาชน (พปช.) และพรรคร่วมรัฐบาลในเรื่องการเสนอชื่อบุคคลที่ยังมีความเห็นต่าง ทำให้ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลไม่ยอมเข้าห้องประชุม ส่งผลให้องค์ประชุมไม่ครบ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมเลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันที่ 17 กันยายน

การประชุมสภานัดนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 09.40 น. โดยนายชัยกดสัญญาณเรียก ส.ส.เข้าประชุม 2 ครั้ง หลังตรวจสอบพบว่ามี ส.ส.เซ็นชื่อเข้าร่วมประชุม 246 คน จาก ส.ส.ทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนี้ 470 คน ส่วนใหญ่เป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เปลี่ยนใจเข้าร่วมประชุมหลังตรวจสอบข้อมูลไม่พบว่า ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรคเซ็นชื่อร่วมประชุมแม้แต่คนเดียว มีเพียง ส.ส.พปช.บางส่วนเท่านั้นที่ร่วมเซ็นชื่อ โดยในส่วนของ 5 พรรคร่วมรัฐบาลนั้น ได้ติดต่อประสานงานกันในช่วงกลางดึกคืนวันที่ 11 กันยายน ต่อเนื่องถึงเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อจะไม่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ให้เหตุผลว่า เนื่องจากพรรคแกนนำยังมีปัญหาความขัดแย้งภายใน และพรรคร่วมได้ส่งสัญญาณในลักษณะไม่ต้องการให้นำเสนอชื่อนายสมัครอีกครั้ง แต่ก็ยังมีความพยายามเสนอชื่อกลับมา จึงใช้วิธีการนี้กดดันให้เปลี่ยนตัว โดยส่ง ส.ส.เป็นตัวแทนไปสังเกตการณ์การประชุมเท่านั้น
แก้เกม ปชป.ส่งอภิสิทธิ์รอส้มหล่น

จากนั้น นายชัยเปิดประชุม พร้อมแจ้งวาระการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 และขอให้สมาชิกเสนอชื่อผู้ที่มีความเหมาะสม นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ส.ส.สัดส่วน พปช.ลุกขึ้นแย้งว่า ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกฯ ต้องได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ คือเกิน 236 เสียง และต้องเลือกภายใน 30 วัน ทำให้นายชัยต้องตัดบทและขอให้นายสุขุมพงศ์เสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกฯ แต่นายสุขุมพงศ์กลับเสนอให้นับองค์ประชุม ระหว่างนั้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ส.ส.สัดส่วน พปช.ส่งสัญญาณให้ ส.ส.พปช.ที่อยู่ในป้องประชุมประมาณ 30 คน เดินออกจากห้อง ส่งผลให้การนับองค์ประชุม มีสมาชิกอยู่ในห้องแค่ 161 คน ถือว่าไม่ครบองค์ประชุม นายชัยจึงประกาศเลื่อนการประชุมเพื่อเลือกนายกฯไปเป็นวันที่ 17 กันยายน เวลา 09.30 น. แม้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ขอให้นับองค์ประชุมอีกครั้งก็ตาม

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอบโต้ว่า การประชุมวันนี้ พปช.เป็นคนนัดเอง เสนอเอง ตั้งระเบียบวาระเอง แต่กลับไม่มาเข้าร่วมเอง จนไม่ครบองค์ประชุม ดังนั้น จะมาหาว่าหวังส้มหล่นได้อย่างไร เพราะเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ไปตามระบบ ตามข้อบังคับ

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การเสนอชื่อก็ทำไปตามกระบวนการ ไม่มีอะไรพิสดารหรือมีแผนการอะไรทั้งสิ้น ส่วนที่มีการอ้างมาตรา 173 เป็นการคิดกันไปเองเพราะยังไม่ได้ลงคะแนน ถ้าทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาก็หมดเรื่อง

นายสุเทพกล่าวปฏิเสธกระแสข่าวมีการหารือกับนายสมชาย ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีว่าเป็นการคุยกันหลายๆ ฝ่าย สำหรับในนามพรรคขอยืนยันว่าทั้งตนและหัวหน้าพรรคไม่เคยตกลงกับใคร ยผมไม่ได้พูดกับคุณสมชาย แต่ก่อนหน้าจะประชุมมีคนต่อโทรศัพท์ให้ผมคุยกับคุณสมชาย ผมจึงบอกคุณสมชายว่า ผมจะเข้าประชุม แต่คงไม่มีผลอะไรเหรอก เพราะพวกผมมีกันแค่ 164 คนเท่านั้นŽ
สมัคร เครียดลูกพรรคต้องกระเซ้า

สำหรับนายสมัครนั้น เดินทางถึงรัฐสภาเมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. โดยหลบขึ้นทางอาคารรัฐสภา 2 หรือตึกวุฒิสภา ซึ่งมีทางเชื่อมกับอาคารรัฐสภา 1 นายสมัครได้ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ เช่นเดียวกันกับภายหลังนายชัยสั่งเลื่อนการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปเป็นวันที่ 17 กันยายน นายสมัครไม่ยอมตอบคำถามสื่อมวลชนใดๆ ก่อนที่จะออกจากรัฐสภาไป โดยมีสีหน้าเคร่งเครียดตลอดเวลา จนทำให้นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พปช. ที่เดินตามมาด้วย กระเซ้าว่า หัวหน้ายิ้มหน่อย

ภายหลังการประชุม นายสมชายในฐานะรองหัวหน้า พปช. ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อการประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกฯต้องเลื่อนไป ก็คงต้องไปหารือใน พปช. และพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะคุยกันภายใน 1-2 วันนี้ ขณะนี้ยังไม่ทราบเหตุผลที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ยอมเข้าร่วมประชุมนั้น ผู้สื่อข่าวถามว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การตัดสินใจยุบสภาหรือไม่ นายสมชายในฐานะปฏิบัติราชการแทนนายกฯ กล่าวว่า ไม่เคยคิดเลยครับเรื่องนั้น

ส่วนกรณีที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ออกมาพูดในลักษณะสนับสนุนแนวคิดจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น นายสมชายกล่าวว่า ทุกคนที่เสนอความคิดเห็นเพราะหวังดีต่อบ้านเมือง ต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อย แต่วิธีการดำเนินการมันเป็นไปได้หรือไม่ ต้องดูรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติในเรื่องเหล่านี้



นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ หัวหน้ากลุ่มขุนค้อน แถลงพร้อมด้วย ส.ส.พปช. กลุ่มอีสานพัฒนา 12 คน อาทิ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร ฯลฯ ว่าสาเหตุที่กลุ่มอีสานพัฒนาไม่เข้าร่วมการประชุม เนื่องจากต้องการให้สมาชิกได้มีเวลาไตร่ตรอง พิจารณาคนที่เหมาะสมขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งนายสมัครไม่น่าจะเหมาะสม และหากการประชุมสภาในวันที่ 17 กันยายน ยังเสนอนายสมัคร กลุ่มก็จะไม่เข้าร่วมประชุมอีก ยเราไม่ได้เป็นการสั่งสอนกลุ่มเพื่อนเนวินที่ดึงดันจะเสนอชื่อนายสมัครให้ได้ เพียงแต่เราเห็นว่าที่ผ่านมามีเวลาคุยกันน้อยเกินไป ทำให้ความเข้าใจอาจจะยังไม่ตรงกัน ส่วนที่มีการอ้างสายตรงจากลอนดอน ก็อ้างกันไป แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน ควรจะปล่อยให้ท่านได้อยู่สุขสบายของท่านŽ นายสมศักดิ์กล่าว


นายพีรพันธุ์กล่าวว่า เมื่อคืนวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา สมาชิกกลุ่มต้องเจรจากับตัวแทนพรรคร่วมทุกพรรคจนถึงเวลา 01.00 น. วันที่ 12 กันยายน กว่าจะมีมติร่วมกันว่าจะไม่เข้าร่วมการประชุม
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พปช.กลุ่มภาคเหนือ กล่าวว่า ถ้าดูจากจำนวน ส.ส.พปช.ที่เข้าร่วมประชุมจำนวน 84 คน คือคนที่นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย สามารถคุมได้ แต่ที่เหลือไม่สามารถควบคุมได้ จึงอยากให้ได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพราะผู้แทนฯมาจากทุกภาคไม่ได้มีอีสานภาคเดียว


ต่อสายหาแนวร่วมกดดันข้ามขั้ว
ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงค่ำวันที่ 11 กันยายน กลุ่มอีสานพัฒนาที่ประกาศอย่างแข็งขันไม่เอาสมัคร ประมาณ 30 คน หารือร่วมกับนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต ส.ส.สัดส่วน พปช. ที่ร้านอาหารสมพงษ์ โภชนา ย่านเรียบทางด่วนรามอินทรา อาทิ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด โดยมีข้อเสนอทั้งงดออกเสียงเพื่อแสดงจุดยืน รวมไปถึงการไม่เข้าประชุม โดยการประชุมเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 24.00 น. ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ ส.ส.ไปรวมตัวกันที่รัฐสภา ในเวลา 07.30 น. แต่ไม่เข้าประชุม พร้อมประสานไปยังกลุ่มขุนค้อนของนายสมศักด์ เกียรติสุรนนท์ ซึ่งหารือร่วมกับ ส.ส.ในกลุ่มอีกประมาณ 20 คน ที่ร้านราชาวดี ย่านสะพานควาย ก่อนจะติดต่อไปยังพรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทย เพื่อจับมือกันกดดันด้วยวิธีการไม่เข้าร่วมประชุม

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พปช. กล่าวว่า มีกระบวนการสามานย์ ให้แม่ทัพนายกองล็อบบี้พรรคร่วมรัฐบาล ไม่ให้โหวตเลือกนายสมัคร ไม่เช่นนั้นจะไม่รับรองว่าอะไรจะเกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้คงต้องมีการสอบถามข้อเท็จจริงกับสมาชิกพรรคอีกครั้ง แต่เท่าที่รู้มา นายทหารคนนี้แต่ก่อนไม่มีพฤติกรรมเช่นนี้ แต่ไม่รู้ว่าวันนี้ความเป็นคนของเขายังมีอยู่หรือไม่

คงต้องกลับไปสอบถามสมาชิกพรรคถึงกระบวนการสามานย์ดังกล่าว แต่ผมเชื่อว่าอีกไม่นานความจริงทุกอย่างจะกระจ่าง แล้วจะรู้ว่าแม่ทัพนายกองคนนั้นเป็นใคร ซึ่งหลังจากนั้นผมคงต้องไปสอบถามท่านว่ามีความคิดเช่นนี้ได้อย่างไร นายจตุพรกล่าว


ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลต่างชี้แจงเหตุผลไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกฯ นายเอกพจน์ ปานแย้ม รองโฆษกพรรคชาติไทยแถลงหลังการประชุมพรรคชาติไทย กล่าวว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าสถานการณ์ภายใน พปช.ยังไม่นิ่ง และไม่มีความชัดเจนในตัวบุคคลที่จะมาเป็นนายกฯ ที่ประชุมก็เห็นว่าควรเลื่อนการโหวตนายกฯ ออกไปก่อนเพื่อให้เวลา พปช.เสนอชื่อนายกฯ เพราะกฎหมายให้เวลา 30 วัน

นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า พรรคยังมีจุดยืนเหมือนเดิมว่า จะสนับสนุนพรรคที่ได้เสียงสูงสุดในการจัดตั้งรัฐบาลต่อไป ยืนยันว่าจะไม่มีการสลับขั้วอย่างแน่นอน เพราะคะแนนไม่ถึง ยเมื่อช่วงเช้าในการประชุม มีพรรคการเมืองหนึ่งทำตัวเป็นหวานคอแร้ง ที่คิดว่ากูได้เป็นนายกฯแน่ และมีการเล่นการเมืองแบบเกมต่อเกมยŽ นายบรรหารให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า หากใครมาทาบทามจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกฯเด็ดขาด เพราะอายุมากแล้ว เชื่อว่าในวันที่ 17 กันยายน น่าจะได้บุคคลที่เหมาะสม

รายงานข่าวจากที่ประชุมพรรคชาติไทย เปิดเผยว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค กล่าวในที่ประชุมว่า สถานการณ์แบบนี้ยังไม่ควรโหวตเลือกใคร เพราะการโหวตจะต้องฟังกระแสของสังคม ดังนั้น จึงตัดสินใจว่า ส.ส.พรรคชาติไทยไม่ควรเดินทางไปโหวตนายกฯ อีกทั้งประเมินว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงปิดล้อมอยู่ที่หน้าสภา จึงเกรงว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นจนทำให้ไม่สามารถเดินทางออกจากสภาได้เหมือนกับสมัยพฤษภาทมิฬ นอกจากนี้นายบรรหารยังได้เปิดให้ ส.ส.ร่วมแสดงความเห็น ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการที่ไม่ไปเข้าร่วมโหวตถือเป็นการแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า พรรคชาติไทยไม่เอานายสมัคร
เสนาะ ขู่ชงสมัครอีกไม่ร่วมโหวต

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เมื่อคืนวันที่ 11 กันยายน แกนนำพรรคชาติไทย ได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากกลุ่ม ส.ส.ที่สนับสนุนนายสมัครว่า พปช.มีมติแล้วว่าจะสนับสนุนนายสมัคร ขณะที่เวลาไล่เลี่ยกัน มี ส.ส.กลุ่มที่ไม่สนับสนุนนายสมัคร แจ้งว่าขณะนี้ยังไม่มีบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นนายกฯและไม่เห็นด้วยกับการเลือกนายสมัคร ทำให้พรรคชาติไทยเห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพภายใน พปช. จึงเรียกประชุมแกนนำพรรคชาติไทยกลางดึก พร้อมต่อสายถึงพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ เพื่อกำหนดท่าที ทั้งหมดมีมติร่วมกันว่าจะไม่ไปร่วมประชุมสภาเพื่อให้ไม่ครบองค์ประชุม โดยได้แจ้งให้แกนนำ พปช.ทราบในช่วงเช้าก่อนการประชุมสภา
พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ถือเป็นเรื่องที่เสียหาย เป็นไปตามเกมตามกลไกของสภา และสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นปัญหาของ พปช. ที่ไม่ตกลงกันให้เป็นที่เรียบร้อย

นายเสนาะ เทียนทอง นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว พรรคประชาราช บุตรชาย กล่าวถึงจุดยืนของพรรคว่า พร้อมให้การสนับสนุน พปช.ในการจัดตั้งรัฐบาลและเสนอชื่อคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่เห็นด้วย ที่จะเสนอให้นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย เพราะจะไม่สามารถหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้ และหากยังดึงดันที่จะเสนอนายสมัครอยู่อีก ก็จะไม่เข้าร่วมประชุมสภาอย่างที่เกิดขึ้น
เมื่อพรรคพลังประชาชนเองยังคุม ส.ส.ไม่อยู่ ยังมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เราจึงเห็นว่าไม่ควรที่จะไปร่วมประชุมสภา ดังนั้น การยืดเวลาออกไปจึงถือเป็นทางออกที่นุ่มนวลที่สุดย นายสรวงศ์กล่าว
เผยการเดินเกมไม่เข้าประชุมสภา

นายสรวงศ์กล่าวยอมรับว่า ตลอดทั้งคืนวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา นายเสนาะหารือกับนายบรรหาร โดยยืนยันที่จะไม่เข้าร่วมประชุมสภาและมอบหมายให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ที่ปรึกษาพรรคชาติไทย ประสานงานไปยังพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไม่ให้เข้าร่วมประชุมสภา เพื่อจะได้ไม่ครบองค์ประชุม และเบื้องต้นทางพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะให้ความร่วมมือ จนกระทั่งช่วงเช้านายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ โทรศัพท์หานายเสนาะ เพื่อสอบถามท่าทีและความชัดเจน ซึ่งนายเสนาะได้ยืนยันจะไม่เข้าร่วมประชุม ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมประชุมและมีการเสนอ นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ทำได้ตามเกมการเมือง


รายงานข่าวจากพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) แจ้งว่า สาเหตุที่ ส.ส.พผ.ทั้ง 24 คน ไม่เข้าร่วมประชุมสภา เนื่องจากนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรค และสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในพรรค อาทิ นายพินิจ จารุสมบัติ นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ แกนนำกลุ่มวังพญานาค ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี หัวหน้ากลุ่มโคราช ได้นัดสมาชิกในกลุ่มไปหารือที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งย่านถนนเกษตร-นวมินทร์ เย็นวันที่ 11 กันยายน แม้หลายคนจะหนักใจการให้นายสมัครกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง เพราะห่วงว่าจะเกิดวิกฤตซ้ำซากโดยอาจถึงขั้นเกิดเหตุการณ์นองเลือด และทำให้รัฐบาลมีอายุสั้นกว่าที่ควรเป็น แต่ถ้าไม่มีตัวเลือกอื่น พผ. อาจจำเป็นต้องโหวตสนับสนุนนายสมัคร แต่สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างมากคือการจัดสรรโควต้ารัฐมนตรี เนื่องจากนายสมัครได้แจ้งต่อแกนนำ พปช. 6 คน ที่เดินทางไปพบที่บ้านพักในซอยนวมินทร์ 81 ว่าหากได้เป็นนายกฯ ตำแหน่ง ครม.จะเหมือนเดิมทุกอย่าง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตรงนี้ทำให้เกิดปัญหาภายใน พผ. อย่างหนัก เนื่องจากมีกลุ่มการเมืองถึง 5 ก๊ก แกนนำสายวังพญานาคจึงมีความพยายามต่อสายถึงแกนนำ พปช. หลายคน โดยถึงขั้นขู่ว่าอาจเกิดการพลิกขั้วเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีการประสานงานไปยังแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนายบรรหารนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช (ปชร.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคมัชฌิมาธิปไตย (มฌ.) เพื่อโน้วน้าวให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เพราะเป็นการเพิ่มพลังในการต่อรอง ในจังหวะเดียวกันนี้ยังมีแกนนำ พปช. กลุ่มภาคเหนือ และกลุ่มอีสานพัฒนา ที่ไม่เอานายสมัครได้ยื่นข้อเสนอหลายอย่างเข้ามา พร้อมยืนยันว่ามีจำนวน ส.ส. ที่ชัดเจนถึง 70 คน

จากนั้นแกนนำ พผ. จึงยกคณะไปพบนายบรรหารเพื่อหารือเรื่องการกดดัน พปช. ให้ถอดชื่อนายสมัครออก แต่นายบรรหารแจ้งว่าได้รับปาก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการ พปช.ไปแล้วย ในที่สุดก็มีผู้เสนอให้ ส.ส. งดเข้าร่วมประชุมสภาในวันที่ 12 กันยายน เพื่อให้สภาล่ม จะได้ทอดเวลาออกไปอีกระยะหนึ่งเพื่อให้ พปช. เสนอชื่อนายกฯคนใหม่ นายบรรหารจึงตอบตกลงข้อเสนอดังกล่าวในเวลาประมาณ 02.00 น. จากนั้นจึงต่อสายพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อใช้แนวทางนี้กดดัน อ้าง สมพงษ์ แจ้งพร้อมเปลี่ยนตัว

แหล่งข่าวกล่าวว่า แต่เพื่อความไม่ประมาทแกนนำ พผ. ได้สั่งขอรอดูท่าทีจากทุกพรรคก่อนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจุดยืนต่อต้านนายสมัครหรือไม่ โดยขอให้ ส.ส.ทั้ง 24 คน มารวมตัวกันที่โรงแรมสวนดุสิต เพลส ในเวลาประมาณ 08.00 น. หากมีแนวโน้มว่าองค์ประชุมจะครบ หรือมีสัญญาณบวกต่อตัวนายสมัคร ส.ส.พผ. ค่อยเดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อโหวตสนับสนุนนายสมัคร ก่อนจะแยกย้ายกันกลับบ้านในเวลา 03.00 น. ของวันที่ 12 กันยายน

ต่อมาในเวลา 08.00 น. ส.ส. พผ. 21 คนได้ไปรวมตัวกันที่โรงแรมสวนดุสิต เพลส ตามนัด ยกเว้น ส.ส.กลุ่มบ้านริมน้ำ 3 คน ที่เดินทางไปเซ็นชื่อ และถือโอกาสสังเกตการณ์การประชุม ภายหลังปิดประชุมสภา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้า พปช. ได้ส่งสัญญาณถึงแกนนำ พผ. ว่าพร้อมจะเปลี่ยนตัวนายกฯใหม่ โดยขอนัดหารือนอกรอบกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลในช่วงเย็นของวันที่ 12 กันยายน
นายสุวิทย์กล่าวถึงสาเหตุที่ ส.ส. พผ. ไม่เข้าประชุมสภา ว่าเป็นเพราะ ส.ส.ส่วนใหญ่ไม่สบายใจ และห่วงว่าการตัดสินใจวันนี้จะเป็นการซ้ำเติมประเทศ ทุกคนไม่อยากเห็นปัญหาลุกลามบานปลายจนนำไปสู่การนองเลือด วันนี้สังคมอยากเห็นผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองได้ และสิ่งที่ พผ.ทำไปวันนี้คือสิ่งที่ประชาชนอยากเห็น ขอยืนยันว่าไม่ใช่การบีบบังคับใครทั้งสิ้น รช.ให้ถือเป็นบทเรียนร่วมกัน

พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (รช.) กล่าวว่า ยังยืนยันตามมติพรรคเดิม คือจะร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พปช. แต่ขณะนี้ต้องติดตามสถานการณ์ภายใน พปช.ก่อน ว่าจะพิจารณาเลือกเสนอชื่อคนใหม่อย่างไร กรณีที่เกิดขึ้น ถือว่าทั้ง พปช. และพรรคร่วมรัฐบาลได้บทเรียนกันไปแล้ว ว่าการเสนอชื่อคนเป็นนายกฯ ต้องเป็นคนที่สังคมรับได้ เชื่อใจ จุดยืนนี้เป็นจุดยืนที่พรรคร่วมรัฐบาลได้แถลงตรงกันในการประกาศเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพปช.เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา ดังนั้น พรรคพลังประชาชนต้องไปคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ให้ดี ที่ ส.ส.ของพรรคทั้ง 9 คน ไม่เข้าห้องประชุม ก็เพราะรายชื่อที่พรรคพลังประชาชนเสนอมา ไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นปัญหาเรื่องตัวบุคคลเท่านั้นเอง ถือเป็นการแสดงความไม่เห็นด้วย ที่ยังเสนอชื่อเดิม ไม่ได้เพราะร่วมมือกันกับพรรคร่วม หัวหน้าพรรค รช.กล่าว


โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 23:20 น.
ท่านฝากบอก แมสเสจ สั้นๆว่า ได้ทำหน้าที่รักษาประชาธิปไตยอย่างถึงที่สุดแล้ว หลังจากนี้ ไป เป็นภาระของพรรคพปช.ที่จะดำเนินการต่อไป ... ท่านไม่ได้บอกอะไร ฝากให้แมสเสจมาแค่นี้ แต่นี้ไป ขอยุติทุกอย่าง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับพรรคจะทำอย่างไร ท่านพูดมาแค่นี้

เมื่อเวลา 15.30 น. นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวกับสมาชิกพรรคในการประชุมใหญ่พรรคชาติไทยประจำปี 2551ย ถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่วันที่ 12 ก.ย. ว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 12 ก.ย. เป็นเรื่องที่ด่วนเกินไป ซึ่งพรรคชาติไทยมีจุดยืนว่า หากพรรคใดมีจำนวนส.ส.มากที่สุด พรรคชาติไทยจะเปิดโอกาสให้พรรคดังกล่าวจัดตั้งรัฐบาล แต่หากตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ พรรคที่มีคะแนนรองลงมาจึงสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

นายบรรหาร กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้พรรคชาติไทยจึงให้โอกาสพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล แต่ฝ่ายโจมตีก็บอกว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนอมินีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้นายสมัครพ้นจากนายกรัฐมนตรี เราก็หารือมาตลอดว่าจะทำอย่างไร พบว่าตอนนี้กระแสสังคม นักเรียน และนักศึกษาไม่เห็นด้วยกับการที่นายสมัครจะกลับเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง จากนั้น พรรคพลังประชาชนก็มาเชิญพรรคชาติไทยให้ร่วมรัฐบาลต่อไป ซึ่งเราก็ยินดี ขอยืนยันว่าเราจะไม่สลับขั้ว เพราะสลับอย่างไรคะแนนก็ไม่ถึง

นายบรรหาร กล่าวต่อว่า คนที่จะเป็นผู้นำรัฐบาลต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ ถ้อยทีถ้อยอาศัย สมานฉันท์ และลดความขัดแย้ง ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองจะไปไม่รอด จึงเห็นว่าควรขยายเวลาการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีออกไป 3 - 4 วัน เพื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้ โดยให้คำนึงถึงความสงบสุขของประเทศ อันนี้จึงเป็นที่มาขององค์ประชุมไม่ครบ

ส่วนอีกพรรคหนึ่งไม่ต้องพูด ถึงคิดว่าหวานคอแร้ง มั่นใจว่าจะได้เป็นนายกฯ แน่ เกมต่อเกมก็ต้องแก้เกมกัน แต่ตอนนี้มันก็จบแล้ว ตอนนี้ผู้คนแตกแยกกันมาก บางเวทีก็ให้ข้อมูลที่ผิด ผมเคยพูดว่าวันนี้ประเทศชาติแย่อยู่แล้ว ในหลวงรับสั่งว่าบ้านเมืองใกล้ล้มจมแล้ว แต่ผมเชื่อในพระสยามเทวาธิราชว่ายังมีอยู่ อย่างไรเราก็ต้องช่วยกันกอบกู้ เมื่อคืนผมไม่ได้นอนทั้งคืน ไม่ได้ทำอะไรหรอกแต่นั่งปรึกษาหารือกันว่าจะทำอะไร นายบรรหาร กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.40 น. ส.ส.พรรคพลังประชาชน กลุ่มเพื่อนเนวิน จำนวน 20 คน นำโดย นายบุญจงค์ วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา และนายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม แถลงประกาศเจตนารมย์ว่า จากเหตุการณ์ที่สภาไม่สามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบนั้น ส.ส.อีสานกลุ่มเพื่อนเนวิน จำนวน 83 คน ได้หารือร่วมกันและมีมติกลุ่มว่า ส.ส.ทุกคนในกลุ่มยังยืนยันที่จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป

นายบุญจงค์ กล่าวว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางการเมือง ขอให้เป็นอำนาจการตัดสินใจของนายกสมัคร และหลังจากนี้การดำเนินกิจกรรมการทางการเมืองของกลุ่มจะเป็นบึกแผ่น ส่วนกรณีที่พรรคพลังประชาชนมีมติสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็ถือว่าเป็นมติที่ใหญ่กว่ามติของกลุ่มเพื่อนเนวิน แต่ขอยืนยันว่าที่ผ่านมาเราไม่เคยอ้างชื่อกลุ่มเพื่อทำการเคลื่อนไหว โดยเราฟังมติของพรรค แต่ในที่สุดเมื่อมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ส.บางกลุ่มกลับไม่ปฏิบัติตามมติพรรค

ส่วนกรณีที่ ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา และกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาลไม่เข้าร่วมประชุมสภา ถือว่าเป็นการแสดงว่าไม่ยอมรับนายสมัครใช่หรือไม่นั้น นายบุญจงค์ กล่าวว่า พรรคพลังประชาชนไม่มีความแตกแยก แต่เป็นเพียงความแตกแยกทางความคิด และเชื่อว่าถ้ามีการเสนอบุคคลอื่นแทนนายสมัคร ก็คงจะต้องมีการคุยกัน

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่มาร่วมประชุมเพื่อโหวตเลือกนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีว่า เป็นที่ชัดเจนว่าการที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่เข้าร่วมประชุมสภา เป็นการแสดงไมตรีจิตที่ดี ทำให้รู้ว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้เป็นอย่างไร ซึ่งขั้นตอนต่อไปภายในพรรคพลังประชาชน ก็คงต้องมีการปรึกษาหารือกันต่อไป ว่าจะตกลงกันอย่างไร
ถ้าสุดท้ายแล้วยังตกลงกันไม่ได้ ก็คงต้องให้วิธีการคืนอำนาจให้ประชาชนคือต้องยุบสภา สาเหตุที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ก็เพราะมีนักการเมืองปล่อยข่าว ทำให้เกิดความไม่เข้าใจในตัวนายสมัคร นายจตุพร กล่า

เมื่อเวลา 12.30 น. ที่รัฐสภา นายชูศักดิ์ ศิรินิล รักษาการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าการที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่เข้าร่วมการประชุมสภาที่มีวาระสำคัญคือเลือกนายกรัฐมนตรี จนทำให้สภาล่มนั้น ไม่น่าจะมาจากการที่พรรคเหล่านั้นไม่อยากเลือก นายสมัคร สุนทรเวช ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อาจจะเห็นว่าภายในพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นแกนของรัฐบาลยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ยังไม่ตกผลึก เกรงว่าเลือกไปแล้วอาจจะมีปัญหา ดังนั้นภายในพรรคพลังประชาชนต้องคุยกันจนให้ได้ข้อสรุปก่อน โดยเฉพาะกับคนบางกลุ่มที่ออกมาให้สัมภาษณ์ในเชิงไม่พอใจ ทั้งที่วานนี้ได้ประชุมไปถึง 2 ครั้งเพื่อทำความเข้าใจ โดยจะให้เสนอมาว่าต้องการอะไรกันแน่ นอกจากนี้ยังต้องนำเหตุการณ์ในวันนี้ไปถามนายสมัครด้วยว่ามีความรู้สึกอย่างไร


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่การประชุมสภาผู้แทนราษฏร ไม่สามารถประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ เนื่องจากไม่ครบองคประชุม เนื่องจาก พรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรค ไม่ได้เข้าร่วมประชุม พร้อมกับกลุ่มอีสานพัฒนา ในพรรคพลังประชาชนเอง ปรากฏว่า ทันทีที่ปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฏร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เรียกประชุมด่วน ส.ส.พรรคพลังประชาชน ในเวลา 10.30 น. ที่อาคารที่ทำการพรรค ถ.เพชรบุรีตัดใหม่

ข่าวแจ้งว่า ส.ส.และกรรมการบริหารพรรค จากทุกกลุ่มทยอยเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายทรงศักดิ์ ทอง ศรี รักษาการรมช.คมนาคม แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน แกนนำกลุ่มภาคเหนือ นายอนุชา สะสมทรัพย์ ส.ส.นครปฐม แกนนำกลุ่มนครปฐม นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ประธานส.ส.กทม.

พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน คนใกล้ชิดนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนฯย ให้สัมภาษณ์ ก่อนการประชุมว่า สำหรับการประชุมส.ส.พรรคพลังประชาชน จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือการประชุมรวมทั้งส.ส.และกรรมการบริหาร และการประชุมเฉพาะกรรมการบริหาร โดยในที่ประชุมกรรมการบริหาร นายสมัคร สุนทรเวช จะเข้าร่วมด้วย ซึ่งจะมีการพูดคุยถึงข้อดีข้อเสียกันด้วยเหตุผล รวมถึงเรื่องคดีความที่เป็นภัยคุกคามที่แสนสาหัสของนายสมัครจะต้องเผชิญในอนาคต จากนั้นจะให้เวลานายสมัครได้ตัดสินใจสักพัก ก่อนที่นายสมัครจะแจ้งต่อที่ประชุมใหญ่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร แต่สมมุติว่า นายสมัครไม่รับตำแหน่งก็จะยังไม่มีการพูดคุยถึงตัวบุคคลที่จะขึ้นมาแทน ซึ่งในวันที่ 14 กันยายนนี้ จะตกผลึก 99 เปอร์เซ็นต์ก็น่าจะเห็นความชัดเจน

พ.ต.ท.กานต์ย เทียนแก้ว กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงเช้าวันนี้เป็นเรื่องดีที่ทำให้ส.ส.พรรคพลังประชาชนมารักกันมากขึ้น วันนี้ 90 เปอร์เซ็นต์ส.ส.กลับมาสามัคคีกันเหมือนเดิม และนายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคพลังประชาชน แต่โดยหลัการณ์แล้วอันดับแรกต้องเสนอชื่อนายสมัคร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนย เพราะเหตุการณ์วันนี้ทำให้เห็นว่าถ้าต่างคนต่างเดินก็ไปไม่ได้ ต้องรับฟังความเห็นเพราะ 223 เสียงในพรรคทุกคนมีความหมาย ดังนั้น การบริหารพรรคต่อไปก็คงจะมีการปรับเปลี่ยนรับฟังส.ส.มากขึ้นย สัญญาณวันนี้มีแนวโน้มที่ดีมาก ทุกฝ่ายเริ่มหันหน้าเข้ามาพูดคุยและเข้าใจกันมากขึ้น ทั้งนี้นายสมัครเองได้ฝากไปถึงพรรคร่วมรัฐบาลว่า ขอขอบคุณพรรคร่วมที่ไม่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ เพราะพรรคพลังประชาชนยังมีการจับขั้ว

เมื่อถามว่า หากนายสมัคร ประกาศสู้ต่อกลุ่มส.ส.ภาคเหนือ จะดำเนินการเหมือนในวันนี้หรือไม่ พ.ต.ท.กานต์ กล่าวว่า นายสมัคร จะประกาศอย่างไรเราจะต้องให้เกียรติซึ่งในวันนี้เมื่อทราบผลการตัดสินใจของนายสมัคร เราก็จะมาพูดคุยกันต่อ ถ้าท่านประกาศสู้ต่อก็จะต้องมาดูว่านายสมัคร จะมีแนวทางการทำงาน การบริหารพรรค และจะดูแลส.ส.ในพรรคอย่างไร

เมื่อถามว่าจะเชิญนายเนวิน เข้าร่วมประชุมกรรมการบริหารด้วยหรือไม่ พ.ต.ท.กานต์ กล่าวว่า ก็คงเชิญนายเนวินด้วย เมื่อถามว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันนี้ถือเป็นการให้บทเรียนกับกลุ่มนายเนวินหรือไม่ พ.ต.ท.กานต์ กล่าวว่า คงไม่ใช่เป็นบทเรียน แต่เป็นธรรมชาติของพรรคการเมือง ความที่คิดไม่มีอะไรก็จะเดินไปเรื่อย แต่เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นก็ต้องมาปรับเปลี่ยน อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าวันนี้บ้านเมืองยังเดินหน้าต่อไป จึงยังไม่จำเป็นถึงขั้นที่จะเสนอให้มีการยุบสภา



โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 23:05 น.


สมชาย มึนส.ส.โดดประชุมสภาฯ รอถกใหม่อีกรอบ เลื่อน! โหวตนายกฯ เป็น 17 ก.ย. ส.ส. โผล่แค่ 161 เสียง .ปชป.เสนอชื่อ อภิสิทธิ์ เก้อ ปู่ชัย ชิงสั่งปิดประชุม ชาติไทยทุบโต๊ะนั่งถกที่พรรคไม่โผล่สภาฯ ส.ส.อีสานพัฒนา ลั่นไม่เอาสมัคร มั่นใจ กว่า 70 ส.ส. ขึ้นไปไม่ลงคะแนนให้ บอกมนต์เขมรปัดเป่าทำคนหลง เชื่อกลับมาวิกฤตหนักกว่าเดิม ที่บ้านเมืองทอง นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และนายสรวงศ์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว พรรคประชาราช แถลงจุดยืนของพรรคประชาราชว่า พรรคประชาราชพร้อมสนับสนุนพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล และเสนอชื่อคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม พรรคประชาราชไม่เห็นด้วย หากพรรคพลังประชาชนเสนอให้นาย สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้ หากมีการเสนอชื่อนายสมัคร พรรคร่วมรัฐบาลจะไม่เข้าร่วมประชุมสภาฯ อีก


นายเสนาะ กล่าวว่า เมื่อคืนวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา ตนหารือกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เกี่ยวกับท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลย โดยยืนยันกันว่าจะไม่เข้าร่วมประชุมสภาฯ วันที่ 12 ก.ย.นี้ และมอบหมายพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประสานงานกับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเราต้องการให้สภาฯไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งจากการประสานงานเบื้องต้น พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะให้ความร่วมมือ แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์กลับลำเข้าร่วมประชุม และเสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่สามารถทำได้ ตามเกมการเมือง


ที่บ้านสวน จ.อุดรธานี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.ระบบสัดส่วนและประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า ช่วงเช้าก่อนจะมีการประชุมสภาเพื่อเลือกตัวนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินทุกคนได้เดินทางไปรัฐสภาแล้ว แต่ทุกคนรวมทั้งตนได้ยื่นใบลาไม่ขอเข้าประชุม เพื่อลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีต่อประธานสภา จากนั้น จึงพากันออกมาจากรัฐสภา โดยไม่ได้เข้าร่วมประชุม เพื่อเลือกนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี อีกวาระหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามมติของพรรคเพื่อแผ่นดิน


พล.ต.อ.ประชา กล่าวอีกว่า เมื่อช่วงเช้าที่จะมีการเสนอชื่อนายสมัครกลับเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยไม่สนใจต่อคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้ตัดสินลงโทษไปแล้ว ตนในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อแผ่นดิน จึงเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อขอความเห็นชอบในการจะยกมือให้นายสมัครฯ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมพรรคเพื่อแผ่นดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า จะไม่เอานายสมัครมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก ส่วนการดำเนินการต่อไปจะมีการประชุมกันอีกครั้ง เพื่อหามติว่าจะรับให้ผู้ใดเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่เลือกนายสมัครอย่างแน่นอน


เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 กันยายน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา พร้อมด้วย ส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวน 12 คน อาทิ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร ฯลฯ ร่วมแถลงข่าวภายหลังการประชุมสภาว่า สาเหตุที่กลุ่มอีสานพัฒนาไม่เข้าร่วมการประชุมสภาในวันนี้ เนื่องจากต้องการให้สมาชิกได้มีเวลาไตร่ตรอง พิจารณาคนที่เหมาะสมขึ้นมาบริหารประเทศ


ทั้งนี้นายสมัครเป็นปูชณียบุคคลที่ได้ช่วยเหลือพรรพลังประชาชนมาโดยตลอด เป็นคนทำงานและเป็นคนดี แต่เห็นว่าปัญหาสำคัญของบ้านเมืองในขณะนี้คือเรื่องของความขัดแย้ง ผู้นำคนใหม่จึงน่าจะเป็นคนที่ประนีประนอม และประสานประโยชน์ได้กับทุกฝ่าย ซึ่งนายสมัครไม่น่าจะเหมาะสม สำหรับกลุ่มอีสานพัฒนานายสมัครถึงว่าจบแล้ว หากการประชุมสภา ในวันที่ 17 กันยายนยังเสนอนายสมัคร กลุ่มก็จะไม่เข้าร่วมประชุมอีก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายชื่อบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งไม่น่าจะพ้น ย"3 ส.ย” ตามที่เป็นข่าว ทั้งนี้ขอขอบคุณพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้ความร่วมมือในการเลื่อนการประชุมออกไปก่อน โดยเชื่อว่าการลงมติเลือกนายกฯในการประชุมสภาครั้งหน้าจะมีความเป็นเอกภาพ


"ความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้เป็นการสั่งสอนกลุ่มเพื่อนเนวินที่ดึงดันจะเสนอชื่อนายสมัครให้ได้ เพียงแต่เราเห็นว่าที่ผ่านมามีเวลาคุยกันน้อยเกินไป ทำให้ความเข้าใจอาจจะยังไม่ตรงกัน ส่วนที่มีการอ้างสายตรงจากลอนดอน ก็อ้างกันไป แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน ควรจะปล่อยให้ท่านได้อยู่สุขสบายของท่านย” นายสมศักดิ์ กล่าว
"ความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้เป็นการสั่งสอนกลุ่มเพื่อนเนวินที่ดึงดันจะเสนอชื่อนายสมัครให้ได้ เพียงแต่เราเห็นว่าที่ผ่านมามีเวลาคุยกันน้อยเกินไป ทำให้ความเข้าใจอาจจะยังไม่ตรงกัน ส่วนที่มีการอ้างสายตรงจากลอนดอน ก็อ้างกันไป แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน ควรจะปล่อยให้ท่านได้อยู่สุขสบายของท่านย” นายสมศักดิ์ กล่าว


ด้าน นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า คืนที่ผ่านมา สมาชิกกลุ่มต้องเจรจากับตัวแทนพรรคร่วมทุกพรรคจนถึงตีหนึ่ง กว่าจะมีมติร่วมกันว่าจะไม่เข้าร่วมการประชุมเพื่อให้เลื่อนการเลือกนายกฯออกไปก่อน เนื่องจากเห็นว่าเวลาเพียง 3 วันนั้น ไม่เพียงพอต่อการพูดคุยกัน อีกทั้งมติของพรรคที่ให้เสนอนายสมัครก็กระทำกับรวบรัดจนเกินไป ตอนเช้าส่งแมสเสจมาว่าจะประชุมพรรคตอนเวลา 9.30 น. ต่อมาก็แจ้งยกเลิก แล้วก็เลื่อนไปประชุมตอน 20.00 น.อีก ทำอย่างกับจัดแถวเด็กนักเรียน ไม่มีเลขาธิการพรรคไหนเขาทำกัน
ส่วนที่สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวินขู่จะยุบสภา หากกลุ่มอีสานพัฒนายังไม่สนับสนุนนายสมัครนั้น นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า เขาทำได้เหรอ เพราะอำนาจในการยุบสภาขณะนี้อยู่ที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการแถลงข่าว นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้เข้าไปหารือกับแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนาอยู่พักใหญ่ก่อนเดินทางกลับ จากนั้นทางกลุ่มก็เรียกผู้สื่อข่าวขึ้นไปฟังการประกาศว่าจะไม่เอานายสมัครเป็นนายก
นายเอกพจน์ ปานแย้ม โฆษกพรรคชาติไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมพรรคชาติไทย ถึงสาเหตุที่ ส.ส.พรรคไม่ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีว่า ไม่ใช่เพราะต้องการเล่นเกมการเมือง แต่เนื่องจากเห็นว่า สถานการณ์ภายในพรรคพลังประชาชนยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเสนอชื่อบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งเห็นด้วยที่ควรทำให้เกิดความชัดเจนก่อน และเลื่อนการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน


นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน ยืนยันว่า พรรคชาติไทยยังคงสนับสนุนพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล รวมไปถึงยังคงยึดถือสัจจะในการเข้าร่วมรัฐบาลตามหลักการของประชาธิปไตย ไม่มีการเปลี่ยนขั้วย อย่างไรก็ตาม การไม่ไปร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่า พรรคพลังประชาชนเองยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงทำให้เกรงว่า หากมีการโหวตด้วยความไม่มั่นใจ ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลก็รู้สึกลำบากใจย ขณะนี้ ยังพอมีเวลาที่จะให้ทุกฝ่ายกลับไปตั้งสติและคิดไตร่ตรองว่าจะตัดสินใจอย่างไรเพื่อชาติบ้านเมือง รวมทั้งเชื่อว่า ผู้ที่จะผ่าทางตันของประเทศได้ดีที่สุดคือตัวนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องมีภาพพจน์ที่ทุกคนยอมรับได้ และสามารถยุติปัญหาของสังคม


นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี และรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.)ย เปิดเผยภายหลังจำนวนส.ส.ในสภาฯ มีไม่ครบองค์ประชุมกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส. ทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถลงคะแนนเลือกนายกฯ ได้ และต้องเลื่อนการประชุมสภาฯ ไปเป็นวันที่ 17 ก.ย.ย ว่า แต่ละฝ่ายต้องนำไปหารือก่อนเข้ามาสภาฯ ใหม่ ส่วนการที่พรรคร่วมรัฐบาลไม่มาประชุมนั้นตนก็ไม่ทราบ อย่างไรก็คงต้องไปหารือกัน และต้องเคารพสิทธิ์ของส.ส. ด้วย

การมาประชุมสภาฯ แต่เลื่อนออกไปก็ต้องไปคุยกัน ถ้าสภาเรียกมาก็ต้องกลับมาใหม่ ส่วนการหาตัวแทนพรรคที่จะรับเลือกเป็นนายกฯ แทนนายสมัครนั้น ต้องไปหารือกันอีกครั้ง


หลังเปิดประชุมสภาฯ เพื่อลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อเวลา 09.40 น. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้เสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้รับลงคะแนนเห็นชอบเป็นนายกฯ ขณะที่พรรคพลังประชาชนยังไม่ได้ยื่นเสนอผู้ใด้ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ได้ให้นับจำนวนส.ส. ในที่ประชุมก่อน ปรากฎว่า มีส.ส.ผู้เข้าประชุมทั้งหมด 161 คน นายชัยจึงประกาศว่าจำนวนส.ส.ในสภาฯ มีไม่ครบองค์ประชุมกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส. ทั้งหมด จึงขอประกาศเลื่อนการโหวตนายกฯ ไปเป็นวันพุธที่ 17 กันยายน 2551

จากนั้นได้มีความวุ่นวายเกิดขึ้นโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ประท้วงว่า ตนแน่ใจว่าเฉพาะจำนวนส.ส.ของประชาธิปัตย์เองรวมกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่นและพรรคพลังประชาชนนั้น น่าจะเกินกว่า 161 คน นายชัยจึงยอมให้มีการนับจำนวนส.ส.ใหม่ ทำให้มีการลุกขึ้นประท้วงกันวุ่นวาย นายชัยจึงตัดบทด้วยการประกาศปิดประชุมสภาฯ และให้เลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันพุธที่ 17 ก.ย. นี้ โดยไม่มีการนับจำนวนส.ส. ตามที่นายสุเทพร้องขอ

แกนนำพรรคชาติไทยเปิดเผยเมื่อเวลา 9.15 น.วันที่ 12 กันยายนว่าพรรคชาติไทยจะไม่เข้าร่วมประชุมสภาฯ อย่างแน่นอน โดยตัดสินใจมาตั้งแต่เมื่อคืน (11ก.ย.51)แล้ว ยอย่างไรก็ตามไม่ถือว่า เรื่องนี้เป็นมติอย่างเป็นทางการ โดยขณะนี้ ส.ส. พรรคยังคงรวมกันอยู่ที่ทำการพรรคชาติไทย ถนนสุโขทัย โดยยังไม่มีใครเดินทางมาที่สภาฯ แต่อย่างใด


นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยมติชน ออนไลน์เมื่อเวลา 08.30 น.ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เซ็นชื่อเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เท่าที่ทราบข่าวพรรคชาติไทยก็อาจจะไม่เข้าร่วม เช่นเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากส.ส.ไม่เข้าร่วมประชุมถึง 235 เสียงหรือไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส.ทั้งหมดในสภาฯ ก็จะไม่สามารถเปิดประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ และอาจต้องเลื่อนการประชุมออกไป


มีรายงานว่าสมาชิกพรรคชาติไทย เช่น พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรค นายวราวุธ ศิลปอาชา และนายเอกพจน์ ปานแย้ม ได้ทยอยเดินทางเข้าประชุมพรรคชาติไทย ที่ทำการพรรคชาติไทยแล้ว หลังจากเปลี่ยนสถานที่ประชุมจากรัฐสภา มาเป็นที่ทำการพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อขอมติสมาชิกพรรคก่อนลงมติเลือกนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เวลา 09.30 น. วันนี้ (12 ก.ย.) ที่รัฐสภา


นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.อีสานพัฒนา พรรคพลังประชาน ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งออกอากาศผ่านทางสภานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเวลา 06.50 น. วันที่ 12 ก.ย. ถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ที่จะมีขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (12ก.ย.) ว่า เชื่อว่า ส.ส.จากกลุ่มต่างๆ ทั้งอีสานพัฒนา ส.ส.กลุ่มเหนือ กลุ่มวาดะห์ ฯลฯย กว่า 70 เสียงขึ้นไป จะไม่มีทางโหวตเลือกนายสมัคร สุนทรเวช กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ตามมติของพรรคพลังประชาชนอย่างแน่นอน เนื่องจากทุกคนก็รู้ว่าย นายสมัครไม่มีความเหมาะสม ดูได้จากนิสัยของนายสมัคร ที่คิดว่าตัวเก่งและถูกตลอดเวลา การไม่รับฟังความคิดเห็นใคร ซึ่งสื่อมวลชนก็ทราบดีว่า นายสมัครนั้นตั้งแง่อย่างไร
ผมมีความมั่นใจว่า วันนี้คงไม่ลงให้แน่นนอน

นายปรีชากล่าวอีกว่า ถ้าหากในที่ประชุมสภา เลือกนายสมัครกลับมาอีกครั้ง ความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ และมีทีท่าว่า จะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตนอยากจจะบอกให้ พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมเอาประเทศชาติไว้ก่อนจะดีกว่าย ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง ด้วยการเลือกคนที่เหมาะสมมาเป็นนายกฯย ทั้งนี้ ถ้าคนที่เห็นแก่ประเทศไทย การโหวต วันนี้จะไม่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ นายปรีชา ยังกล่าวอีกว่า การที่ ส.ส.ทั้งเหนือ และอีสานหลายๆ คน จะลงคะแนนให้นายสมัคร ก็เพราะว่า อาจต้องมนต์เขมร ที่ปัดเป่า ทำให้เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยถึงได้เป็นอย่างนี้ไปเสียหมด ซึ่งการที่ใครๆ ต่างตะเลือกนายสมัคร เป็นนายกฯ ก็เพราะนายสมัคร คงมีของดี มีคนพูดว่า มนต์เขมรย ขลัง กล่อมใครก็อยู่หมัด

อย่างไรก็ตาม นายปรีชา ยืนยันว่า แม้การที่ ส.ส.อีสานพัฒนา ซึ่งสังกัดอยู่ภายใต้พรรคพลังประชาชน จะไม่เลือกนายสมัคร แต่ก็ยืนยันว่า จะไม่มีการโหวตสวน คือ ไปเลือกเอานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มานั่งนายกฯ แทนอย่างแน่นอน เนื่องจากโดยมารยาทางการเมืองแล้ว กลุ่มตนก็ต้องให้เกียรตินายสมัคร ที่เป็นหัวหน้าพรรคอยู่แล้ว


เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 11 กันยายน ที่รัฐสภา ส.ส.พรรค พปช.16 คน ประกอบด้วยกลุ่มอีสานพัฒนา กลุ่มภาคกลาง กลุ่มขุนค้อน กลุ่มโคราช กลุ่มภาคเหนือ กลุ่มภาคกลางและ กทม. นำโดยนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นายศักดา พงษ์เพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ กลุ่มวาดะห์ นายสงคราม เลิศกิจไพโรจน์ เหรัญญิกพรรค ร่วมกันแถลงข่าวไม่สนับสนุนให้นายสมัครเป็นนายกฯอีกครั้ง

นายไพจิตกล่าวว่า จากการหารือระหว่างกลุ่ม ส.ส.อีสานพัฒนา กลุ่มขุนค้อน กลุ่มโคราช กลุ่มภาคเหนือ กลุ่มภาคกลางและ กทม. รวมประมาณ 70 คน ยืนยันว่า ขณะนี้พรรค พปช.ยังไม่มีมติเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกฯ พวกเราเห็นพ้องต้องกันว่านายสมัครทำหน้าที่นำพรรคมาอย่างดี แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเช่นนี้ ก็ยอมรับ ดังนั้น จึงควรเสนอชื่อคนอื่นให้สภาพิจารณาโหวตเป็นนายกฯ เพื่อให้บรรยากาศดีมากขึ้น คิดว่าพรรค พปช.จะเรียกประชุมส.ส.เพื่อขอมติอีกทั้ง โดยทางกลุ่มจะเสนอบุคคลมาทำหน้าที่นายกฯ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ถ้าพรรคยังไม่มีข้อยุติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็จะเสนอต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เลื่อนวาระเลือกนายกฯ ออกไปอีกเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความรอบคอบ

เชื่อมีโหวตสวน-งดออกเสียง

ในการประชุมกลุ่มของเราที่มี 70-80 เสียงจะแสดงจุดยืนว่าไม่เอานายสมัคร คิดว่าพรรคจะฟังและคิดว่าจะเดินไปในทางเดียวกัน แม้ว่านายสมัครจะตอบรับกับผู้ที่ไปเจรจาให้กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้งแล้วก็ตาม แต่อยากให้นายสมัครทบทวนใหม่ เชื่อว่าการประชุมในพรรคจะได้ข้อยุติยŽ นายไพจิตรกล่าว และว่า ส.ส.สามารถใช้เอกสิทธิในการโหวตได้ย เชื่อว่า ส.ส.จะโหวตสวนทางกับมติพรรค หาก ส.ส.คนใดมีความเกรงใจกันก็คงจะงดออกเสียง โดยทางกลุ่มมีบุคคลที่คิดว่าเหมาะสมที่จะเป็นนายกฯมากกว่านายสมัคร แต่ไม่ขอเปิดเผย แต่คงไม่ถึงขั้นเปลี่ยนไปสนับสนุนคนของพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกฯ

พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา แกนนำกลุ่มโคราช กล่าวว่า หากนายสมัครเป็นนายกฯอีกก็จะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต แม้นายสมัครจะทำประโยชน์ต่อบ้านเมืองมาพอสมควรแต่ในสถานการณ์เช่นนี้ไม่เหมาะสม หากนายสมัครกลับมาอีกสถานการณ์บ้านเมืองก็จะยิ่งวิกฤต ดังนั้น เราจึงไม่ขอสนับสนุนให้นายสมัครกลับเข้ามาอีก

ขณะที่นายพงษ์ศักดิ์ บุญศล ส.ส.สกลนคร กล่าวว่า แม้จะเห็นว่านายสมัครเป็นคนดี ทำงานเพื่อบ้านเมืองมานาน แต่ทางกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่าหากนายสมัครเป็นนายกฯจะเกิดปัญหาจนนำไปสู่การปฏิวัติอีกครั้ง ดังนั้น ทางกลุ่มจึงเห็นควรให้นายสมัครถอนตัวและให้โอกาสคนที่มีความเหมาะสมมาบริหารบ้านเมืองให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

ด้านนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มวาดะห์ กล่าวว่า นายสมัครควรใช้โอกาสนี้เป็นบรรไดลง และยุติบทบาททางการเมือง ไม่ถือเป็นการเสียหน้าและควรนำบุคคลที่สมควรเป็นนายกฯมารักษาระบอบประชาธิปไตยต่อไป

นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยืนถึงการนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกฯ ยังคงจะมีขึ้นในวันที่ 12 กันยายนน เวลา 09.30 น.ไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด


นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคพลังประชาชน กลุ่มขุนค้อน กล่าวว่า กลุ่มขุนค้อนยังยืนยันมติเดิมที่ไม่สนับสนุนนายสมัคร การเข้าชี้แจงของนายสมัครต่อ ส.ส.ของพรรคนั้น เบื้องต้น ส.ส.เข้าใจว่าจะได้สอบถามประเด็นต่างๆ กับนายสมัคร แต่ปรากฏว่าไม่มีใครมีโอกาสได้ซักถามตามที่ตั้งใจไว้ และพอนายสมัครพูดเสร็จ ประธานการประชุมก็ปิดประชุมทันที

ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม กลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า ในค่ำวันเดียวกันนี้จะประชุม ส.ส.อีกครั้ง และจะรวบรวมรายชื่อ ส.ส.ให้ได้ 70 เสียง เพื่องดออกเสียงในการลงมติเลือกนายกฯในวันที่ 12 กันยายน


รายงานข่าวจากพรรคประชาราชแจ้งว่า หากพรรค พปช.เสนอนายสมัครเป็นนายกฯอีก นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคจะไม่ไปลงคะแนนสนับสนุนนายสมัคร ทั้งนี้ นายเสนาะเก็บตัวเงียบอยู่ที่บ้านเมืองทอง หลังพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรคแถลงข่าวร่วมรัฐบาล โดยผู้สื่อข่าวรอสัมภาษณ์อยู่ที่บ้านพักของนายเสนาะกว่า 2 ชั่วโมง จากนั้นนายเสนาะให้คนในบ้านมาบอกว่าของดให้สัมภาษณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อโทร.สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถามถึงการเข้าร่วมประชุมสภาในวันที่ 12 กันยายน นายเสนาะกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ขอคิดดูก่อนว่าจะไปร่วมประชุมด้วยหรือไม่


รายงานข่าวจากแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) แจ้งว่า หลังมีกระแสข่าวว่านายสมัคร ตอบรับเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 แกนนำ พผ.นัด ส.ส.ของพรรคทั้ง 24 คนหารือที่เซฟเฮาส์แห่งหนึ่งตั้งแต่เวลาประมาณ 15.30 น. โดย ส.ส.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย พร้อมให้แกนนำประสานงานไปยังพรรค พปช. เพื่อขอให้เปลี่ยนชื่อใหม่ เนื่องจากเห็นว่าสังคมรับไม่ได้จริงๆ ส่วนการแถลงข่าวร่วมจัดตั้งรัฐบาล 6 พรรค แกนนำ 4 พรรคที่ไปหารือร่วมกันที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ได้ทิ้งปมไว้ชัดเจนว่าขอให้พรรค พปช. เสนอชื่อบุคคลที่เป็นที่ยอมรับ และสามารถคลี่คลายวิกฤตในบ้านเมือง ซึ่งแกนนำ พปช. ที่มาร่วมแถลงข่าวรับปากว่าจะพยายามดำเนินการให้ แต่เบื้องต้นต้องให้เครดิตนายสมัครในฐานะหัวหน้าพรรคก่อน และเชื่อว่านายสมัครจะถอนตัวเอง โดยมติพรรค พปช.ที่เสนอชื่อนายสมัครยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย หากได้ชื่อใหม่จะรีบประสานงานมายังแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทันที แต่ไปๆ มาๆ นายสมัครกลับตอบรับการเข้ามาเป็นนายกฯ อีกครั้ง

หาก พปช.ไม่ตอบรับข้อเรียกร้องของพวกเราก็จะมีมาตรการจากเบาไปหาหนัก โดยส.ส.อาจไม่เข้าร่วมประชุมสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ หรืออาจถึงขั้นเปลี่ยนจุดยืนด้วยการปฏิเสธเข้าร่วมรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการต่อสายถึงแกนนำ 4 พรรคร่วมรัฐบาลเพื่อกำหนดจุดยืนร่วมกันŽ แหล่งข่าวกล่าว


ที่กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นคนไทยคนหนึ่ง เห็นว่าผู้ที่สมควรที่จะมาเป็นนายกฯ ต้องเป็นคนที่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ความขัดแย้งจะต้องหมดไปและมีทางออกของสังคม ทำให้ผ่านวิกฤตในช่วงนี้ไป และช่วยกันรวมสร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคมรวมทั้งประชาชนด้วย

เมื่อถามว่า พรรคพลัง พปช.ควรเสนอใครเป็นนายกฯ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ใครก็ได้ที่ทำให้สถานการณ์และสังคมดีขึ้น ก็น่าจะเหมาะสม เมื่อถามว่า แนวทางการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติมีความเหมาะสมหรือไม่นั้น พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่คิดว่าน่าจะยากที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นได้น่าจะเป็นทางออกที่ดี ทั้งนี้ นักการเมืองต้องเสียสละ


ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ตนเสนอให้มีรัฐบาลพิเศษเป็นทางออกนั้นไม่เหมือนรัฐบาลแห่งชาติในอดีต โดยเป็นรัฐบาลที่เปิดพื้นที่ให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่พรรคการเมืองและต้องประกาศให้ชัดว่าเงื่อนเวลาและภารกิจคืออะไร ถ้าจะไม่มีฝ่ายค้าน อายุของรัฐบาลก็ต้องจำกัดมากๆ แต่ตนเปิดใจกว้าง ไม่เคยเรียกร้องว่าต้องเป็นพรรคประชาธิปัตย์และตนเองต้องเป็นรัฐบาล เพราะเราต้องการเสนอทางออกประเทศ ถ้าพรรคร่วมตัดสินใจร่วมกันต่อไป ทางออกของประเทศก็จะไม่เกิด

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลแห่งชาติเป็นทางออกสำหรับบ้านเมืองในขณะนี้ โดยไม่ได้มีแต่เฉพาะนักการเมือง แต่มีคนนอกภาคประชาชน ข้าราชการประจำ พ่อค้านักธุรกิจ ทุกฝ่ายที่มาจากความเห็นชอบจากที่ประชุมพรรคการเมืองร่วมด้วย การที่พรรคร่วมยังเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล ถือว่าท้าทายความรู้สึกของประชาชน เป็นรัฐบาลในรูปแบบเดิมๆ ที่คงไม่สามารถแก้ปัญหาบ้านเมืองได้


พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังแสดงปาฐกถาพิเศษของสมัชชาใหญ่ประชาชน ภาคอีสานตอนบน เรื่อง การเมืองอีสานในยุคเปลี่ยนผ่าน ที่โรงแรมบ้านเชียง เทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี ว่า ไม่มีความคิดเห็นว่านายสมัคร จะกลับมาใหม่หรือไม่ เพราะพี่น้องประชาชนทราบดีว่าท่านควรกลับมาหรือไม่ แต่อยู่ที่ตัวท่านเอง การตัดสินใจของท่านจะเป็นเครื่องพิสูจน์อะไรหลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่รู้กันดีว่าเหมาะหรือไม่เหมาะอย่างไร

ในยามที่มีความขัดแย้ง จะสร้างรัฐบาลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือจะสร้างรัฐบาลที่สร้างความปรองดองสามัคคีกัน ฉะนั้นมีอยู่ทางเดียวคำว่ารัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล องค์ประกอบก็คือความตั้งใจของนักการเมืองที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของพรรคหนึ่งพรรคโดย พล.อ.ชวลิตกล่าว


คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอก ชน (กป.อพช.) และเครือข่ายภาคประชาชน ออกแถลงการณ์ร่วม ยคัดค้านการกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และเสนอปฏิรูปการเมืองŽ โดยเรียกร้องให้ ส.ส.พรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาลหยุดการเสนอชื่อนายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง และจะต้องเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม และวุฒิภาวะทางการเมือง เป็นที่ยอมรับและสามารถสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย หากพรรคพลังประชาชนเสนอนายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีกครั้งหนึ่งแสดงว่า ส.ส.พรรค พปช.ไม่รักประเทศชาติและไม่เคารพคำตัดสินของศาล


เครือข่ายเด็กเยาวชน ผู้หญิง ครอบครัว คนพิการ นักธุรกิจเพื่อสังคม ข้าราชการ และภาคสังคมอื่นๆ ชวนเชิญพี่น้องประชาชนชาวไทยที่ไม่เห็นด้วยในการแต่งตั้งนายสมัคร สุนทรเวชกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มาร่วมลงรายชื่อเพื่อถวายฎีกา โดยมาพร้อมกันที่หน้าโบสถ์วัดพระแก้ว ในวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2551 เวลา 13.00 น

กำหนดการ วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2551

13.00 น พบกันหน้าโบสถ์วัดพระแก้ว ร่วมกันลงรายชื่อฎีกา

13.15 น สวดมนต์ในโบสถ์เพื่อความสงบของบ้านเมือง

13.30 น ตัวแทนเข้าพบราชเลขาธิการ เพื่อถวายฎีกา

13.45 น แถลงข่าว


โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 23:05 น.

กรณีของนายสมัคร สุนทรเวชและนายจรัญ ภักดีธนากุล อาจมีข้อเท็จจริงและองค์ประกอบแตกต่างกันในหลายประเด็น แต่เมื่อมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวและเพื่อดำรงความน่าเชื่อและศรัทธาของศาลรัฐธรรมนูญต่อสาธารณชน ศาลรัฐธรรมนูญจึงควรทำเรื่องนี้ให้หระจ่าง การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำว่า ลูกจ้าง ในคดีที่ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี มีการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 เนื่องจากเป็นพิธีกรในรายการ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยงหกโมงเช้า ของบริษัท เฟซ มีเดีย ต้องแปลความให้กว้างกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กล่าวคือ ไม่ต้องคำนึงสภาพการจ้างหรือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้จ้างกับผู้รับจ้างเพียงอย่างเดียวนั้น

แต่หมายถึง ผู้รับจ้างทำการงานผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร โดยมิคำนึงถึงว่าจะมีการทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง สินจ้าง หรือค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น หากมีการตกลงเป็นผู้รับจ้างทำการงานแล้ว (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542)

ทำให้มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าการที่ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นอาจารย์พิเศษสอนหนังสือในสถาบันการศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนโดยได้รับค่าตอบแทนการสอน รวมทั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเอกชนประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 207 (2) และ (3) ของประธานและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
การกระทำต้องห้ามดังกล่าวคือ

(2) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ

(3)ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันหรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด (ข้อความเช่นเดียวกับมาตรา 267)
อย่างไรก็ตาม ในกรณีคดี ชิมไปบ่นไป ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยประเด็นที่ บริษัท เฟซ มีเดียมีความสัมพันธ์กันอย่างยาวนานหลายปีระหว่างนายสมัครกับบริษัทในเชิงธุรกิจ ตั้งแต่ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก รวมทั้งการได้รับค่าตอบแทนอย่างสมฐานะ และภารกิจกล่าวคือได้ค่าตอบแทนเดือนละ 80,000 บาท และเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยังคงทำงานในลักษณะดังกล่าวต่อไป เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเท่านั้น

ทั้งนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตอนหนึ่งระบุว่า
การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผล จึงไม่ใช่แปลความคำว่า ลูกจ้าง ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือตามกฎหมายภาษีอากรเท่านั้น เพราะกฎหมายแต่ละฉบับย่อมมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งแตกต่างกันไปตามเหตุผล และการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ทั้งกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และยังมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์แตกต่างจากกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย

มิฉะนั้นผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ที่รับจ้างรับค่าจ้างเป็นรายเดือนในลักษณะสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีก็สามารถทำงานต่อไปได้ โดยเปลี่ยนค่าตอบแทนจากค่าจ้างรายเดือน มาเป็นสินจ้างตามการทำงานที่ทำ เช่น แพทย์เปลี่ยนจากเงินเดือนมาเป็นค่ารักษาตามจำนวนคนไข้ ที่ปรึกษากฎหมายก็เปลี่ยนจากเงินเดือนมาเป็นค่าปรึกษาหรือค่าทำความเห็นมาเป็นรายครั้ง ซึ่งก็ยังผูกพันกันในเชิงผลประโยชน์กันอยู่ระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้ที่รับทำงานให้ เห็นได้ชัดเจนว่ากฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์ให้หาช่องทางหลีกเลี่ยงให้ทำได้โดยง่าย

ขณะเดียวกันบริษัทเฟซ มีเดียกับมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนก็มีสถานะและวัตถุประสงค์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงโดยบริษัท เฟซ มีเดียเป็นองค์การธุรกิจที่แสวงหากำไร ขณะที่มหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนมิใช่องค์การธุรกิจที่แสวงกำไรตามกฎหมาย
นอกจากนั้นงานพิธีกรรายการทีวีเป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ ขณะที่งานสอนหนังสือเป็นการบริการสาธารณะอย่างหนึ่ง

แม้กรณีของนายสมัคร และนายจรัญ อาจมีข้อเท็จจริงและองค์ประกอบแตกต่างกันในหลายประเด็น
แต่เมื่อมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวและเพื่อดำรงความน่าเชื่อและศรัทธาของศาลรัฐธรรมนูญต่อสาธารณชน ศาลรัฐธรรมนูญจึงควรทำเรื่องนี้ให้หระจ่างหรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือประชาชนที่สงสัยว่า พฤติการณ์และการกระทำของนายจรัญขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ สามารถเข้าชื่อกันยื่นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วินิจฉัยหรือถอดถอนนายจรัญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270-271 ได้


โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 20:36 น.

เมื่อวันที่ 12 กันยายน นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 (เอ็นบีที) กล่าวว่า วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายนนี้ สถานีจะงดออกอากาศรายการสนทนาประสาสมัครไปก่อน เนื่องจากเวลาช่วงดังกล่าวจัดไว้ให้นายกรัฐมนตรีสื่อสารกับประชาชนโดยเฉพาะ ในเมื่อตอนนี้ประเทศไทยยังไม่มีนายกรัฐมนตรีจึงต้องงดรายการ ขณะเดียวกันทีมงานของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ติดต่อตนตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 12 กันยายนว่าจะของดทำรายการเช่นกัน โดยสัปดาห์นี้จะนำรายการเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาออกอากาศแทน ส่วนสัปดาห์ต่อไปจะหารือกันอีกครั้ง
ตอนนี้เรากำลังเตรียมรายการสำรองอยู่ และจะทำไปจนกว่ามีนายกฯ คนใหม่มา ซึ่งก็จะมีการพูดคุยกันอีกว่า นายกฯ คนใหม่จะต้องการพื้นที่ตรงนี้หรือไม่ นายสุริยงค์ กล่าว

ด้านน.ส.กนกพร ณ พิกุล รักษาการผู้อำนวยการกระจายเสียงภายในประเทศ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงเวลาที่เคยถ่ายทอดสดรายการสนทนาประสาสมัครจะเปลี่ยนเป็นรายการ เปิดบ้านวิภาวดี รายงานข่าวและสถานการณ์ทั่วไป แต่จะไม่หนักมากเหมือนที่รายงานในวันธรรมดา โดยจะนำผู้จัดรายการของสถานีมาสลับเปลี่ยนกันทำหน้าที่


โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 21:35 น.

เมื่อวันที่ 12 กันยายน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) แจ้งว่าได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาวิกฤตชาติ ดังต่อไปนี้

1.พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลไม่ควรเสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป เพราะจะเป็นการสวนทางกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวและลุกลามต่อไปอย่างกว้างขวาง หากจะมีการเสนอชื่อนายสมัคร สุนทรเวช ในสภาผู้แทนราษฎร ก็ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละท่านลงคะแนนเสียงตามมโนธรรมสำนึกเนื่องจากรัฐธรรมนูญได้เปิดกว้างให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติของพรรคการเมืองได้ อนึ่ง สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ส่วนข้างน้อยมีความเห็นว่า ไม่ควรระบุชื่อตัวบุคคล

2.หลังจากได้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ขอให้นายกรัฐมนตรีเลือกสรรผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยคำนึงถึงความสามารถและคุณธรรม ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของประชาชน
กลุ่มต่างๆ

3.คณะรัฐมนตรีควรยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครโดยทันที

4.ขอให้กลุ่มต่างๆ ที่ขัดแย้งกันในขณะนี้ ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในแนวทางสร้างสรรค์และไม่ผิดกฎหมาย เพื่อมิให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น อนึ่ง สภาที่ปรึกษาฯ ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยในการป้องกันเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ
5.ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองจากบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม ประกอบด้วย บุคคลจากภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม โดยดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จภายในระยะเวลา 1-2 ปี


โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 19:35 น.

นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นการปาฐกถา ศาสนธรรมกับการศึกษา ในงานเปิด ประตู...สวนโมกข์กรุงเทพฯ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนมีมติเสนอให้ นายสมัคร สุนทรเวช กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีจากการจัดรายการ ชิมไปบ่นไป และยกโขยงหกโมงเช้า เนื่องจากขัดต่อรัฐธรรมนูญว่า เป็นเพราะดุลอำนาจภายในพรรคพลังประชาชนกำลังรวนเร ไม่ว่าจะเสนอหรือแต่งตั้งใครขึ้นมาก็ไม่สามารถคานได้ เพราะฉะนั้นต้องเกาะนายสมัครไว้ให้แน่น ถ้าถามว่า ตนโกรธหรือไม่ ที่นายสมัคร จะถูกโหวตให้กลับมาเป็นนายกฯ ก็ ยอมรับว่าโกรธ เพราะที่ผ่านมามองนายสมัครเป็น มนุษย์ต่างดาว มาตลอด แต่ก็พยายามหาเหตุผลว่า เป็นเพราะอะไร ทั้งๆที่ศาลวินิจฉัยแล้ว แต่ก็ยังดื้อดึงเลือกขึ้นมาใหม่ ก็เท่ากับว่า เป็นการตบหน้าศาล ซึ่งไม่ใช่ว่า รัฐบาลชุดนี้ทำลายระบบรัฐสภาอย่างเดียว แต่เท่ากับทำลายสถาบันตุลาการไปด้วย มันกลายเป็นเรื่องตลก
ทุกอย่างชัดเจน คนในพรรคก็มองเห็น และก็เห็นว่า สังคมรับไม่ได้ พันธมิตรรับไม่ได้ แต่ทำอย่างนี้ ก็ยิ่งทำให้สังคมเสื่อมโทรมลงไปอีก ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ความเข้าใจของผม ไม่ใช่ว่าเขาโง่เขลาเบาปัญญา แต่มันมีความจำเป็นในการเมืองภายในของเขาเอง

นายนิธิ กล่าวว่า การเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องการทะเลาะกันของกลุ่มพันธมิตรฯ กับกลุ่มที่ไม่ใช่พันธมิตร ทั้งนี้เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาการเมืองแล้ว แต่เป็นปัญหาของสังคม เพราะสังคมเปลี่ยนระดับรุนแรงมากๆ ทำให้ตัวระบบการเมืองต้องปรับตัว ซึ่งขณะนี้ ยังปรับตัวไม่ได้ เชื่อว่า ปัญหาจะต้องมีอีก ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า กว่าที่การเมืองไทย จะนิ่งต้องไม่ต่ำกว่า 1 0 ปี คือ จะมีการทะเลาะ ขัดแย้ง ตึงเครียดอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นตอนนี้อย่ามาถามทางออก เพราะสิ่งที่สำคัญคือ สิ่งที่สังคมไทยทำไปแล้ว หลังจากที่พันธมิตรฯ ปะทะกับ กลุ่ม นปช.

เมื่อถามถึงกรณีที่นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เสนอให้มีจินตนาการประชาธิปไตย นั้น นายนิธิ กล่าวว่า ประชาธิปไตย ไม่มีแบบตายตัว แต่คือ อุดมคติในความฝันของคนต่างๆ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเพราะฉะนั้นไม่มีประชาธิปไตยสำเร็จรูปที่ไหนบนโลกนี้ ทุกสังคมที่เป็นประชาธิปไตยต้องปรับตัวเอง ไปเรื่อยๆ ตามความฝันซึ่งเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ เหมือนกัน เพราะฉะนั้นตนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในการเมืองไทย เพราะการเมืองที่หยุดนิ่งคือการเมืองที่ตายแล้ว ซึ่งตนเห็นด้วยกับแนวคิดการเมืองใหม่ ก่อนที่จะมีการเสนอเสียอีก

อย่าถามว่าการเมืองใหม่จะเกิดขึ้นในรูปแบบใด ไม่มีนักปราชญ์คนไหนสักคนเดียวสมารถทำนายได้ การเมืองใหม่ จะเกิดขึ้นจาก คัดง้าง ขัดแย้ง ต่อรอง ต่อสู้ และอาจจะนองเลือด ของคนกลุ่มต่างๆ กลุ่มที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งของอำนาจ กลุ่มเหล่านี้จะเข้ามาต่อรองขัดแย้งไปเรื่อยๆ

เมื่อถามว่า บริบทการเมืองไทยต่อจากนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้ง การนองเลือดหรือไม่ นายนิธิกล่าวว่า ตอบไม่ได้ แต่บอกได้เพียงแค่ว่า การปรับระบบ การเมืองไทยที่ผ่านมา อย่างน้อยที่มองเห็นคือ 2 ครั้ง คือ เมื่อปี 2475 คือ การเปลี่ยนระบอบการเมือง อีกครั้งเมื่อปี 2516ย เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ต่อจากนั้นก็มีการต่อรองขัดแย้งกันตลอดเวลา สลับกับการนิ่งของการเมือง และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ พอสังคมเปลี่ยนก็เกิดคนหน้าใหม่ๆ ที่อยากจะเข้ามามีส่วนแบ่งอำนาจ ก็ต้องเข้ามาและทะเลากันต่อไปอีก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการเมืองมีการนองเลือด แต่ปัจจุบันไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ อยากชวนให้สังคมไทย เข้มแข็งเอาไว้ ปล่อยให้ทะเลาะกันได้ แต่อย่าให้ใช้ความรุนแรง

Copyright © 2008 - •°¤* All About Politics *¤°• - is proudly powered by Blogger
Smashing Magazine - Design Disease - Blog and Web - Dilectio Blogger Template